ผลของการใช้สายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพ ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพ ของเจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • คงษร ประวัติ
  • ชาตรี เมธาธราธิป ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • ศิริวรรณ สงจันทร์ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • มีนา พรนิคม ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด วัดก่อนและหลังการทดลอง (The One-Group Pretest-Postest Design) ของกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของเจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น เพื่อประเมินภาวะสุขภาพของเจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยที่ ๗ ขอนแก่น และเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้สายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและรายงานผลการตรวจสุขภาพประจำปี โดยกลุ่มตัวอย่างจะได้รับสายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพและเข้าร่วมกิจกรรม Walking Challenge ทั้งหมด 3 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และเปรียบเทียบข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติ Paired sample t-test   

ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะทั่วไปของอาสาสมัครที่มาเข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง    ร้อยละ 98.0  และส่วนใหญ่อายุอยู่ระหว่าง 51-60 ปี ร้อยละ 48.0 รองลงมา อยู่ระหว่างอายุ 31-40 ปี และอายุ 42-50 ปี เท่ากัน คือร้อยละ 26 อายุเฉลี่ย 48.1 ปี ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัคร ก่อนและหลังดำเนินการ ด้วยค่าสถิติ Paired T-Test พบว่า พฤติกรรมสุขภาพที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (ค่า P-value < 0.05) มี 15 ข้อ จากทั้งหมด 20 ข้อ และเมื่อเปรียบเทียบผลรวมคะแนนพฤติกรรมสุขภาพก่อนและหลังดำเนินการ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (ค่า P-value < 0.05)  เช่นกัน

ผลการการเปรียบเทียบภาวะสุขภาพ ก่อนและหลังดำเนินการ ด้วยค่าสถิติ Paired T-Test พบว่า น้ำหนักดัชนีมวลกายและความดันโลหิต systolic  มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ   (ค่า P-value < 0.05) และเมื่อเปรียบเทียบผลการตรวจเลือด ระดับน้ำตาล ระดับไขมันคอเลสเตอรอล และระดับระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ พบว่า มีเฉพาะระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเท่านั้น ที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (ค่า P-value < 0.05) และผลการสอบถามความพึงพอใจของการใช้สายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพหรือแอปพลิเคชั่นนับก้าวของอาสาสมัครเมื่อสิ้นสุดโครงการ พบว่า อาสาสมัครส่วนใหญ่พึงพอใจในระดับมากและมากที่สุด ในเรื่องเครื่องมือช่วยนับก้าวมีส่วนช่วยให้อยากออกกำลังกายมากขึ้น คิดเป็น  ร้อยละ 82.0

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-07-2020