ปัจจัยที่มีควำมสัมพันธ์กับทำรกแรกเกิดน้ำหนัก น้อยกว่ำ 2,500 กรัม ภำคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา บุญเจียม ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม  (Low birth wight) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยศึกษาปัจจัยด้านลักษณะทางสังคมประชากรของ ผู้เลี้ยงดูและเด็กปฐมวัย ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็ก และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านด้านลักษณะทางสังคมประชากร ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กกับทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม (Low birth wight) ด้วยการสัมภาษณ์มารดาหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก จำนวน 584 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-Square Test) สถิติการวิเคราะห์ถดถอย (Regression Analysis) และสถิติการถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ (Multiple Logistic Regression)

ผลการวิจัยพบว่า เด็กมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 17.1 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม  (Low birth wight) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมี 4 ปัจจัยคือ 1) ความเพียงพอของรายได้ต่อครัวเรือน (AOR = 1.8  95% CI = 1.08, 3.05, P value = 0.024) 2) การคลอดก่อนกำหนด (AOR = 8.0 95% CI = 4.55, 13.91, P value = <0.001) 3) การฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งคุณภาพ (AOR = 3.3 95% CI = 1.85, 5.79, P value = <0.001) และ       4) การอาศัยอยู่กับบิดามารดา (AOR = 1.9 95% CI = 1.16, 3.26, P value = 0.011) ดังนั้นต้องสร้างนวัตกรรมหรือมีวิธีการค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ให้เร็วที่สุด เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ (Early ANC) และฝากครรภ์ให้ครบ 5 ครั้งคุณภาพ ส่งเสริมให้การคลอดบุตรเป็นไปตามอายุครรภ์ที่ครบกำหนด ต้องสร้างงานสร้างอาชีพในชุมชน สร้างรายได้แก่ผู้เลี้ยงดู เพื่อส่งเสริมให้ครอบครัวได้อยู่ร่วมกัน เด็กได้อยู่กับบิดามารดา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-07-2020