Health Literacy of prevention and control rabies, community leaders in Rabies free area and Non-rabies free area at Health Region 7

ผู้แต่ง

  • Pankaew Rattanasingunchan Office of Disease Prevention and Control 7 Khon Kaen
  • Kanchana Lueangu-bon ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

knowledge of health Rabies free area The area is not rabies free. Rabies Prevention Behavior Rabies knowledge, community leaders

บทคัดย่อ

ความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญของประชาชนทุกช่วงวัย ทั้งภาวะสุขภาพปกติ และภาวะผิดปกติซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมและส่งผลลัพธ์ต่อสุขภาพ ปัญหาโรคพิษสุนัขบ้ายังเป็นปัญหาสาธารณสุขขที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นปัญหาในเขตสุขภาพที่ 7 ในปี 2560-2561 พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าจากสุนัขที่เลี้ยงไว้ และหลังถูกกัดไม่ได้ล้างบาดแผล และไม่ได้ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อหาความรอบรู้ด้านสุขภาพในพื้นที่สาธารณสุขที่ ในแกนนำชุมชนพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า จำนวน 179 คน และแกนนำชุมชนพื้นที่ไม่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า จำนวน 149 คน นำมาเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคพิษสุนัขบ้า พร้อมหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของกลุ่มแกนนำทั้งสองกลุ่ม  เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีเนื้อหา 4 ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไป ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าและพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.75  วิเคราะห์ข้อมูลอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของแกนนำชุมชนในพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า และพื้นที่ไม่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.34   อายุ 41-60 ปี ร้อยละ 75.4  ภาพรวมของความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคพิษสุนัขบ้าระดับดีมาก (x̅ = 3.90, S.D.=0.95)  พฤติกรรมการป้องกันโรคระดับปานกลาง (x̅ = 2.45, S.D.=1.06) และมีความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ในระดับพอใช้ได้ ร้อยละ 53.07 เมื่อพิจารณาค่าความสัมพันธ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพกลุ่มแกนนำพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้ากับความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน(r=1.131, p>0.05) รวมทั้งไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า(r=1.113, p>0.05) ด้วย

กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ไม่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.59 กลุ่มอายุ 41-60 ปี ร้อยละ 77.7 ภาพรวมความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคพิษสุนัขบ้า ระดับพอใช้ได้ (x̅ = 3.77, S.D.=0.83)  พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคพิษสุนัขบ้าค่าเฉลี่ยพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง  และมีความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าระดับพอใช้ได้ ร้อยละ 55.03 และค่าความสัมพันธ์ของความรอบรู้ด้านสุขภาพของโรคพิษสุนัขบ้าพื้นที่ไม่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้ากับพฤติกรรมการป้องกันโรค ม่มีความสัมพันธ์กัน(r=1.925, p>0.05)

ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคพิษสุนัขบ้าของพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้ากับความรอบรู้ด้านสุขภาพพื้นที่ไม่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ไม่มีความแตกต่างกัน (r=0.101, p>0.05)  พฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าและพื้นที่ไม่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้ามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.038, p<0.05) ดังนั้นจึงควรศึกษาปัจจัยที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าสามารถปฏิบัติตามเกณฑ์การสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า และสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสริมทักษะสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้ประชาชน แกนนำในพื้นที่

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-03-2022