ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบัณฑิตพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาในปีพ.ศ. 2550 จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • นุชมาศ แก้วกูลฑล
  • พิศมัย อุบลศรี
  • ผกาทิพย์ สิงห์คำ
  • ปัทมาภรณ์ คงขุนทด
  • นํ้าฝน ไวทยวงศ์กร

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ การปฏิบัติงานของบัณฑิตพยาบาล satisfaction, work performance, graduate nurses

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตในหลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง/ต่อเนื่องและหลักสูตรภาคพิเศษ) ที่สำเร็จ การศึกษา พ.ศ. 2550 จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ใน 6 ด้าน คือ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 6) ทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง แบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต 1 คน และเพื่อนร่วมงานของบัณฑิต 2 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 600 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามความพึงพอใจของ ผู้ใช้บัณฑิตมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ทดสอบหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาคอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบ ความแตกต่างของข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test

ผลการวิจัย พบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงานของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาใน ปี พ.ศ. 2550 รายด้านและโดยรวมอยู่ระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม (

 

x = 4.37, SD. = .50) ส่วนค่าเฉลี่ยตํ่าสุด คือ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ( x = 3.83, SD = .60) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานบัณฑิต ใน 6 ด้านและ โดยรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

The purpose of this research was to study and compare levels of from supervisors’ and colleagues’ satisfaction with working performance on a new nursy who from three nursing programs of Boromarajonani

College of Nursing, Nakhon Ratchasima. Those programs are Bachelor of Nursing Science from class 49th (a 4-year program), Diploma in Nursing Science from class 20th (a 2-years program), and Diploma in Nursing Science from class 2nd (a 3-years program). Participants were purposively recruited by selecting one supervisor and two colleagues for each graduate nurse. The total number of participants was 600.

Data was collected by using a six-dimension Likert scale of working performance, which consists of 40 behaviors grouped into six performance subscales with five Likert scales for each item. Those subscales are ethics and moral, knowledge, cognitive skills, interpersonal skill and responsibility, numerical analysis, communication and information technology skill, and nursing professional skill. Developed by the research team, the scale is

shown to be highly reliable (Cronbach’s alpha = 0.96). The collected data was analyzed using percentage, means, standard deviations, and t –test.

The results of this study showed that; 1) The supervisors and colleagues were satisfied with the new graduate’s nursing performance who graduated in 2007 at a high level both in the combined six subscales and in each subscale. The ethics and moral subscale has the highest mean of satisfaction level. (

x = 4.37, SD. = .50) 2) When compared levels of satisfaction from supervisors and colleagues, on a new graduate’s nursing performance, there was no statistical difference both in the combined six subscales and in each subscale (p = 0.5).

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2013-02-12