การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองโดยใช้แนวคิดกลุ่มช่วยเหลือ ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

ผู้แต่ง

  • ทองทิว แชจอหอ
  • อัมพร คำหล้า
  • สุปราณี พัฒนจิตวิไล

คำสำคัญ:

รูปแบบการส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเอง ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ แนวคิดกลุ่มช่วยเหลือ Self health promotion, model, the risk group of heart disease, support group

บทคัดย่อ

 

การวิจัยนี้เป็นวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองโดยใช้ แนวคิดกลุ่มช่วยเหลือในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา วิธีการวิจัยมี 4 ขั้นตอน 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบฯ 4) ประเมินประสิทธิผลรูปแบบฯ ทั้งด้าน กระบวนการและผลลัพธ์ ระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือนมิถุนายน 2551 – กันยายน 2552 กลุ่มตัวอย่างเลือก แบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 143 คนแบ่งเป็น 1) กลุ่มช่วยเหลือคือผู้ป่วยโรคหัวใจ จำนวน 19 คน 2) กลุ่มเสี่ยง จำนวน 124 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1) คู่มือการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจ 2) หนังสือความรู้เรื่องโรค หัวใจกับการรักษา 3) แบบวัดความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง 4) แบบวัดความสามารถในการดูแลตนเองสุขภาพ ตนเอง 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ 6) แบบวัดคุณภาพชีวิต 7) RAMA-EGAT SCORE เก็บข้อมูลโดยศึกษาเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ สถิติที่ใช้ ร้อยละ และ pair t-test

 

ผลการศึกษา พบว่า 1) รูปแบบที่ พั ฒนาขึ้ ประกอบด้ วย การกำหนดบทบาทของที มสหวิ ชาชี พการคั ดเลื อก สมาชิก กำหนดบทบาทของสมาชิก กำหนดรูปแบบกิจกรรม กำหนดขนาดของกลุ่ม/ระยะเวลาแต่ละกิจกรรม / ความถี่และจำนวนครั้ง/การจัดสถานที่/วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ 2) ผลการประเมินผลรูปแบบ พบว่า รูปแบบที่กำหนด ขึ้นดำเนินกระบวนการได้ตามที่กำหนด และมีการยืดหยุ่นตามความต้องการของกลุ่ม ทำให้สมาชิกกลุ่มมีความพึง พอใจจึงเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง การประเมินผลลัพธ์หลังสิ้นสุดกิจกรรม พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และ ความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ ผลการ ประเมิน RAMA-EGAT SCORE หลังเข้าร่วมกิจกรรม 3 เดือนพบว่ากลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ รุนแรง จาก 22 คนลดเหลือ 6 คน ทีมผู้ให้บริการมีความพึงพอใจในบทบาทเนื่องจากเป็นงานบริการเชิงรุกและได้มี โอกาสพัฒนาศักยภาพตนเอง

สรุปการใช้กลุ่มช่วยเหลือในการจัดกิจกรรมดูแลสุขภาพตนเองได้ผลลัพธ์ดีต่อทั้งตัวผู้ป่วย ทีมผู้ให้ บริการและต่อระบบสุขภาพ เกิดการรวมตัวของกลุ่มผู้ป่วยและชุมชนเอง เกิดชมรมเพื่อนช่วยเพื่อนโรคหัวใจ โรงพยาบาลมหาราชและมีการสร้างเครือข่ายชัดเจนขึ้น

This research and development aimed to develop a model of self health promotion by using a support

group concept in the risk group of heart disease, Maharat Nakhon Ratchasima hospital. The study composed of four stages: 1) situation analysis; 2) developing a model and tool; 3) application model; 4) evaluation effectiveness included process and outcome assessment. The purposive random sampling technique was used and gathered 143 samples. Those were divided into two groups: 1) 19 persons of support group; and 2) 124 persons of the risk group. The instruments used for collecting data were: 1) self care handbook; 2) the knowledge of heart disease and treatment knowledge handbook; 3) knowledge on self care test; 4) the ability on self care test; 5) satisfaction questionnaire; 6) Thai QOL questionnaire; and 7) RAMA-EGAT SCORE. Data were collected from June 2008 to September 2009. Statistics used for analysis were percentage, average, the standard of deviation, and pair t-test.  

The research findings revealed that:

1) The initiated self health promotion model composed of establishing roles of multi- disciplinary and members ; forming activities, group size, duration and frequency of activities, place and materials.

2) The developed model fit and responded to the group’s needs. The risk group was satisfied with the model.

Afler completely the program, the result showed that the member’s knowledge. the risk group’s RAMA-EGAT SCORE after participating in the model for three months was decreased from 22 to be 6 people. The health care team was very satisfied with this model because it was a proactive work and self- development.

The study findings mean to the health care executive team in terms of organizing the support group to be sustainable, which will lead to self- care group networks for heart disease patients as well as for community.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-02-12