สถานการณ์ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของผู้หญิงอีสาน

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ ชิณโสม
  • วิพร เสนารักษ์

คำสำคัญ:

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้หญิงอีสานวัยกลางคน ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวาน Type 2 diabetes, middle aged- Isan women, diabetes risk factor

บทคัดย่อ

 การวิจัยเชิงปฏิบัติการในขั้นตอนแรกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เบาหวานชนิดที่ 2 ของผู้หญิงอีสานวัยกลางคน โดยดำเนินการศึกษาร่วมกับผู้หญิงอีสานวัยกลางคนที่มีความเสี่ยงต่อ การเกิดโรคจำนวน 19 คน ระหว่างเดือนตุลาคม 2550- มกราคม 2551 ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การประชุมกลุ่ม และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การ สำรวจปัจจัยเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนาตามลำดับ

ผลการศึกษาพบว่าในผู้ที่สมัครใจเข้ารับการสำรวจปัจจัยเสี่ยงเป็นผู้หญิงวัยกลางคนที่อายุ 40-60 ปีจำนวน 42 คน มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ ค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 23 กก./ม2 ขึ้นไปร้อยละ 88.09 เส้นรอบเอวตั้งแต่ 80 ซม.ขึ้นไปร้อยละ 85.71 อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปร้อยละ 78.57 และมีญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 21.43 นอกจากนี้เมื่อประเมินในภาพรวมแล้ว พบว่า ผู้หญิงกลุ่มนี้มีโอกาสที่จะเกิดโรคเบาหวานภายใน 12 ปีข้างหน้าถึง 1 ใน 7 คน 1 ใน 4 คน และ 1 ใน 3 คน ร้อยละ 45.24, 21.43 และ 19.05 ตามลำดับ ผู้หญิงกลุ่มนี้ รับรู้ว่าภาวะเสี่ยงข้างต้นเกี่ยวข้องกับ เงื่อนไขการมีญาติเป็นโรคเบาหวานและภาวะอ้วนซึ่งประการหลังเป็นปัจจัยเสี่ยง ที่ตนเองสามารถปรับเปลี่ยนได้เพราะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ได้แก่ การมีชีวิตที่ไม่ค่อยออกแรง ไม่ชอบออกกำลังกาย จำเป็นต้องรับประทานอาหารกากใยน้อยตามความชอบของครอบครัวและในการเลี้ยงตามงานบุญ และไม่ตระหนัก ถึงความสำคัญของการลดปัจจัยเสี่ยง ดังนั้นในการดำเนินกิจกรรมการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในผู้หญิง กลุ่มนี้ควรคำนึงถึงการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขเหล่านี้ร่วมด้วย

The study is the first phase of an action research. It aimed to study the situation and risk of Type 2 diabetes among middle-aged women in Northeastern Thailand. Nineteen at risk women acted as co-researchers during October 2550 - January 2551. Qualitative data were collected using focus group discussions, in-depth interviews, observations and group meetings while quantitative data were gathered using a survey. Data were analyzed using a content analysis approach and descriptive statistics. Forty-two women aged 40-60 years took part in the survey.

The results showed that risk factors for diabetes among these women included body mass index ≥ 23 kg/m

2 (88.09 percent), waist circumference ≥ 80 cm (85.71 percent), ages 45 years or more (78.57 percent), and having a direct relative with diabetes (21.43 percent). When assessing the overall group it was found that, within 12 years, 1 in 7 women have a 45.24 percent chance of developing diabetes, 1 in 4 have a 21.24 percent chance, and 1 in 3 women have a 19.05 percent chance. These women understand that the above risks were associated with family history of diabetes, and obesity. The latter can be controlled since it involves their lifestyles such as a sedentary life, no exercise, eating low fiber foods, and not realizing the importance of reducing the risk of diabetes. Therefore, when carrying out activities to reduce the risk of diabetes in women of this group, the changes of lifestyles should be taken into account.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-02-12