การควบคุมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นในโรงเรียนมัธยมแบบมีส่วนร่วมParticipatory Smoking Control among Adolescent in Secondary School
คำสำคัญ:
การควบคุมการสูบบุหรี่ วัยรุ่น โรงเรียนมัะยม การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและการตายก่อนเวลาอันควรจากโรคที่ป้องกันได้ ในปัจจุบัน
พบว่าอัตราความชุกของการสูบบุหรี่ของประชากรไทยมีแนวโน้มลดลงแต่พบว่ามีอัตราการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นเพิ่มมากขึ้น การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมพลังอำนาจวัยรุ่นตอนต้นในโรงเรียนมัธยมให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโปรแกรมการควบคุมการสูบบุหรี่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งของจังหวัดขอนแก่นวงรอบที่ 1 ของการวิจัยเริ่มจากการคัดกรอง และสร้างความตระหนัก โดยการจัดกิจกรรมแนะนำโครงการ การระดมความคิดร่วมกันระหว่างผู้วิจัย ครูและนักเรียนแต่ละห้อง มีนักเรียนเข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 777 คน จากมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 มีนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการลดสูบบุหรี่ 54 คน นักเรียนเกือบทั้งหมดยอมรับถึงอันตรายและผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่ ดังนั้นทั้งนักเรียนและครูจึงร่วมกันผลิตหนังสั้นเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เลิกสูบบุหรี่ และเผยแพร่ให้ทุกห้องเรียนได้ชมและร่วมคิดหาทางสร้างแรงจูงใจให้เพื่อนเลิกสูบ วงรอบที่ 2 เข้าสู่การพัฒนาโปรแกรมและสื่อการเลิกสูบบุหรี่อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำคู่มือการเลิกสูบบุหรี่ใน 5 วัน “Let’s quitsmoking in 5 days” นอกจากนั้นนักเรียนได้สมัครเป็นเพื่อนคู่หูและสร้างกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนในการเลิกสูบบุหรี่รวมถึงการสร้างระบบการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในโรงเรียน คณะครูและนักเรียนทั้งโรงเรียนได้
กำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อยับยั้งการสูบบุหรี่ และประสานความร่วมมือกับร้านขายของชำข้างโรงเรียนให้งดเว้นการขายบุหรี่ให้เด็กอายุตํ่ากว่า 18 ปีตามกฎหมายที่ประเทศไทยกำหนด หลังดำเนินโครงการวิจัยไป 6 เดือนพบว่า นักเรียนที่สมัครใจลดบุหรี่ 54 คน สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ และเพื่อนอาสาสมัครที่ร่วมโครงการได้รับการเสริมพลังอำนาจในการมีส่วนร่วมและสั่งสมประสบการณ์การดำเนินกิจกรรมตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงานและการประเมินผลโครงการลดการสูบบุหรี่ เหนือสิ่งอื่นใดโครงการนี้ได้เป็นตัวอย่างของโรงเรียนอื่นในการสร้างแรงจูงใจการเลิกสูบบุหรี่ในวัยรุ่นตอนต้นอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการสร้างเพื่อนคู่หู การสร้างเครือข่ายสนับสนุนและให้การปรึกษาจากคณะครูและผู้ปกครองจึงเป็นโครงการควบคุมการสูบบุหรี่ในโรงเรียนมัธยมแบบมีส่วนร่วมที่ยั่งยืนต่อไป