ผลการใช้อุปกรณ์ดัดแปลงเพื่อการพ่นยาแบบฝอยละอองต่อปริมาณ ของเหลวที่เหลือค้างในกระเปาะพ่นยาและระยะเวลาที่ใช้ใน การพ่นยาในเด็กอายุ 1-5 ปีที่เป็นโรคหืดEff ects of Adapted Small Volume Jet Nebulizer on Dead Volume and Duration of Aerosol Therapy in 1-5 Year Old Asthmatic Children
คำสำคัญ:
เด็กโรคหืด อุปกรณ์พ่นยาแบบดัดแปลง ปริมาณของเหลวที่เหลือค้างในกระเปาะ ระยะเวลาที่ใช้ในการ พ่นยาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อเปรียบเทียบปริมาณของเหลวที่เหลือค้างในกระเปาะหลังการพ่นฝอยละออง และระยะเวลาที่ใช้ในการพ่นฝอยละออง ด้วยอุปกรณ์แบบดัดแปลง กับอุปกรณ์แบบปกติ ในเด็กอายุ1-5 ปีที่เป็นโรคหืด จำนวน 64 รายที่ได้รับการรักษาด้วยการพ่นยาขยายหลอดลมชนิดซัลบูตามอล ด้วยเครื่องกำเนิดฝอยละอองขนาดเล็ก ในแผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 32 คน โดยวิธีการสุ่ม กลุ่มทดลองได้รับการพ่นยาด้วยอุปกรณ์แบบดัดแปลง และกลุ่มควบคุมได้รับการพ่นยาด้วยอุปกรณ์แบบปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายไคสแควส์ Independent t-test และ ANCOVA ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณของเหลวที่เหลือค้างในกระเปาะหลังการพ่นยาและระยะเวลาที่ใช้ในการพ่นยาในกลุ่มเด็กที่มีอายุ 1-5 ปี ที่ได้รับการพ่นยาด้วยอุปกรณ์แบบดัดแปลงไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการพ่นยาด้วยอุปกรณ์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p> .05) ถึงแม้ว่าในทางทฤษฎีอุปกรณ์แบบดัดแปลงน่าจะใช้ได้ผลดีในเด็กช่วงอายุ 1-5 ปี แต่เนื่องจากมีปัญหาเรื่องความแตกต่างกันอย่างมีนัย
สำคัญในเรื่องอายุ โดยพบว่ากลุ่มควบคุมมีอายุเฉลี่ย 27.44 เดือน ขณะที่กลุ่มทดลองมีอายุเฉลี่ยมากกว่า คือ 40.00เดือน จากการสังเกตพบว่า ระหว่างการบำบัดรักษาด้วยฝอยละออง เด็กเล็กมักจะร้อง กลั้น และดิ้นรนต่อต้านมากกว่าเด็กโต ทำให้ผลการศึกษาไม่อาจพิสูจน์ประสิทธิภาพที่แท้จริงของอุปกรณ์แบบดัดแปลงได้ ซึ่งต้องการการศึกษาต่อไป โดยควรจำแนกศึกษาช่วงอายุเดียวกันในระหว่างอายุ 1-5 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีปริมาตรความจุปอดใกล้เคียงกับปริมาตรความจุของที่เก็บกักฝอยละอองในอุปกรณ์แบบดัดแปลง การคัดกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองโดยวิธีการจับคู่ หรือทำการเปรียบเทียบตามวัย เพื่อให้ได้ผลที่แน่นอนว่าอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถใช้ได้ผลดีกับเด็กตั้งแต่ช่วงอายุใด