ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพการบริการพยาบาล ในหน่วยตรวจผู้ป่วยนอกนรีเวช โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยFactors Associated Nursing Quality Service in Thai Women with Gynecological Problem in Outpatient’s Department, University Hospital

ผู้แต่ง

  • ปรวรรณ วิทย์วรานุกูล
  • บัวหลวง สำแดงฤทธิ์

คำสำคัญ:

คุณภาพการบริการพยาบาล ปัจจัยที่สัมพันธ์ ผู้ใช้บริการทางนรีเวช

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงช่องว่างระหว่างความคาดหวังและการได้รับการบริการ
พยาบาล คุณภาพการบริการพยาบาลโดยรวมและรายด้าน รวมถึง ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการบริการพยาบาลของผู้ใช้บริการในหน่วยตรวจผู้ป่วยนอกนรีเวช โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย ตัวอย่างเป็นสตรีที่มารับบริการรักษาในหน่วยตรวจผู้ป่วยนอกนรีเวชโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 315 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และ 2) แบบสอบถามความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการพยาบาลของสุนันทา ยอดเณรและคณะ วิเคราะห์โดยใช้สถิติบรรยายและทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพการบริการพยาบาลโดยใช้ไคว์ สแควร์ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างคาดหวังการบริการพยาบาลมากที่สุด 3 ด้านได้แก่ ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ ( = 4.34, SD = .66) ความเชื่อถือไว้วางใจและความเข้าใจเห็นอกเห็นใจ ( = 4.29, SD= .66, .71) ส่วนการบริการพยาบาลที่กลุ่มตัวอย่างได้รับมากที่สุด 3 ด้านได้แก่ ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ ความเชื่อถือไว้วางใจ และความเข้าใจเห็นอกเห็นใจ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 4.09, SD = .70,.70, .71) การบริการที่คาดหวังจากพยาบาลมากที่สุด ได้แก่ การมีความรู้เพียงพอในการตอบคำถามให้แก่ผู้รับบริการ ( = 4.37, SD = .77) ส่วนการได้รับการบริการจากพยาบาลมากที่สุด ได้แก่ การแต่งกายสุภาพ สะอาดเรียบร้อย ( = 4.34, SD = .66) โดยมีช่องว่างการบริการด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการมากที่สุด ซึ่งได้แก่การมีเก้าอี้นั่งรอตรวจเพียงพอ นอกจากนี้ผู้ใช้บริการรับรู้ว่าการบริการโดยรวมมีคุณภาพร้อยละ 37.8 ในขณะที่คุณภาพการบริการรายด้านที่ผู้ใช้บริการรับรู้ว่าการบริการมีคุณภาพมากที่สุด ได้แก่ ด้านความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจร้อยละ 61.6 ส่วนด้านที่ผู้ใช้บริการรับรู้ว่าการบริการมีคุณภาพน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการร้อยละ 41.3 ผลการศึกษายังพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพสมรสกับคุณภาพการบริการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p = .009 ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาระบบการบริการ การศึกษาและการวิจัยทางการพยาบาลให้มีคุณภาพและเป็นที่พึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการต่อไป

Downloads