ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียน มัธยมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลกที่มีภาวะโภชนาการแตกต่างกันFactors Associated with Food Consumption Behavior among Secondary School Student in Diff erence Nutritional Status, Phitsanulok Province

ผู้แต่ง

  • ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์
  • นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์
  • ชวลิต วโรดมรังสิมันต์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภคอาหาร นักเรียนมัธยมศึกษา ภาวะโภชนาการ เกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโต

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลกที่มีภาวะโภชนาการแตกต่างกันกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 1,003 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถาม ประกอบด้วย ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และ 2) แบบบันทึกข้อมูลการตรวจสุขภาพ ทั้งนี้ค่าความเที่ยง คำนวนโดยใช้สูตร KR-20 และสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่า เป็น 0.74, 0.76 และ 0.74 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาไคว์สแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัย พบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา มีระดับพฤติกรรมบริโภคอาหารที่ถูกต้อง จำนวน 533 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์จำนวน 376 คน (ร้อยละ 70.5) ผู้ที่มีภาวะโภชนาการตํ่ากว่าเกณฑ์จำนวน 67 คน (ร้อยละ 12.6) และผู้ที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์จำนวน 90 คน (ร้อยละ 16.9) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง ในกลุ่มภาวะโภชนาการตํ่ากว่าเกณฑ์ คือ ปัจจัยด้านที่ตั้งโรงเรียน (p<0.05) ความสนใจในข้อมูลข่าวสาร (p<0.01) ปัจจัยด้านรายได้ (r=-0.266, p<0.01) และทัศนคติ (r=0.195,p<0.05) ในกลุ่มภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ คือ ปัจจัยเพศ (p<0.01) ความสนใจในข้อมูลข่าวสาร (p<0.01)ความรู้ (r=0.111, p<0.01) และทัศนคติ (r=0.184, p<0.01) ในกลุ่มภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ (n=159) คือ ปัจจัย
เพศ (p<0.01) และทัศนคติ (r=0.320, p<0.01)การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ามีความแตกต่างของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีภาวะโภชนาการแตกต่างกัน ดังนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและครูอนามัยโรงเรียนควรมีการออกแบบโปรแกรมในหลักสูตรและการจัดกิจกรรมนอกชั้นเรียนที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่ม เพื่อพัฒนาภาวะโภชนาการ
ของนักเรียนมัธยมศึกษา

Downloads