ความชุกของการปวดหลัง ในพยาบาลแม่และเด็กThe Prevalence of Back Pain among Maternal Child Health Nurses

ผู้แต่ง

  • จันทร์ธรา สมตัว
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง

คำสำคัญ:

ความชุก การปวดหลัง พยาบาลด้านแม่และเด็ก

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการปวดหลังในพยาบาลที่ทำงานด้านการพยาบาลแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ศูนย์อนามัยที่ 6 ศูนย์อนามัยที่ 7 และโรงพยาบาลจังหวัดขอนแก่น จำนวน 360 ราย เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างตอบด้วยตนเองวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 360 ราย เป็นเพศหญิง ร้อยละ 97.2 อายุเฉลี่ย 37.5 ปี มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในระดับปกติ เฉลี่ย 21.2 อายุการทำงานเฉลี่ย 15.3 ปี ไม่สูบบุหรี่ออกกำลังกายสมํ่าเสมอ ร้อยละ 43.6
พบความชุกของการปวดในรอบ 7 วันที่ผ่านมา บริเวณส่วนไหล่ ร้อยละ 68.3 (95%CI: 63.3-73.1) คอ ร้อยละ 59.2(95%CI: 53.9-64.3) หลังส่วนล่าง ร้อยละ 58.1 (95%CI: 52.8-63.2) และหลังส่วนบน ร้อยละ 57.5 (95%CI: 52.2-62.7) ตามลำดับ ความชุกในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา มากที่สุดบริเวณ ไหล่ ร้อยละ 66.7 (95%CI: 61.5-71.5) บริเวณคอ ร้อยละ 59.7 (95%CI: 54.5-64.8) หลังส่วนล่าง ร้อยละ 58.6 (95%CI: 53.3-63.8) และหลังส่วนบน ร้อยละ 54.7(95%CI: 49.4-59.9) ตามลำดับ และพบความชุกของการปวดในรอบ 12 เดือน ที่ทำให้ต้องหยุดกิจกรรม/หยุดงานที่ทำมากที่สุดคือ บริเวณไหล่ ร้อยละ 20.0 (95%CI: 16.0-24.5) หลังส่วนบน ร้อยละ 18.3 (95%CI: 14.5-22.7) คอร้อยละ18.1 (95%CI: 14.2-22.4) และหลังส่วนล่างร้อยละ16.9 (95%CI: 13.2-21.2)จากผลการศึกษาพบความชุกค่อนข้างสูงของการปวดบริเวณหลังในพยาบาลด้านแม่และเด็ก ผลการศึกษาครั้งนี้นำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวางแผนดำเนินการป้องกันการปวดหลังของพยาบาลเฉพาะด้านเพื่อลดอัตราความชุกของการปวดหลัง และป้องกันการผลกระทบต่อสุขภาพในกลุ่มพยาบาลที่ทำงานด้านแม่และเด็กและในกลุ่ม
อื่นๆต่อไป

Downloads