บทบาทของพยาบาลในการจัดการอาการหอบกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วยความรู้และทักษะ 8 เรื่องที่จำเป็นสำคัญ: การดูแลต่อเนื่องในภาวะอาการคงที่

ผู้แต่ง

  • เสน่ห์ พุฒธิ โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด ชัยภูมิ
  • จรรฎา ภูยาฟ้า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาลัยวิทยาลัยนครพนม จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

บทบาทพยาบาล, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, อาการกำเริบเฉียบพลัน, ความรู้ ทักษะ

บทคัดย่อ

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น มีอัตราการตายสูงขึ้นทุกปี มีค่าใช้จ่ายสูง โดยมีลักษณะของโรค คือ มีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ประกอบไปด้วย 2 กลุ่มโรครวมกันได้แก่ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและโรคถุงลมโป่งพอง ผู้ป่วยจะมีอาการ ไอมีเสมหะ หายใจลำบากและหอบกำเริบเฉียบพลันส่วนใหญ่เกิดกับผู้ป่วยกลุ่มสูงอายุ ซึ่งมีความซับซ้อน ยุ่งยากมากขึ้นในการให้การพยาบาล จึงทำให้พยาบาลต้องมีความเชี่ยวชาญชำนาญในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พยาบาลสามารถดูแลผู้ป่วยอย่างครอบคลุม ทำให้ผู้ป่วยจัดการและป้องกันอาการหอบกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วยความรู้และทักษะ 8 เรื่องที่จำเป็นสำคัญในระยะการดูแลต่อเนื่องในภาวะอาการคงที่ได้ นอกจากนี้ต้องประเมินผู้ป่วยอย่างครอบคลุมพร้อมกับให้ความรู้และทักษะทั้งหมด 8 เรื่อง ในการป้องกันและจัดการอาการหายใจลำบากและหอบกำเริบเฉียบพลัน ได้แก่ 1) การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น 2) การจัดการอารมณ์  3) การออกกำลังการที่ถูกต้องเหมาะสม 4) การสงวนพลังงาน 5) การพ่นยาที่ถูกวิธีและการมาตรวจตามแพทย์นัด 6) การฝึกการไออย่างมีประสิทธิภาพ 7) การบริหารการหายใจ และ 8) การเลือกรับประทานอาหาร ในระยะการดูแลต่อเนื่องในภาวะอาการคงที่ เพื่อผลลัพธ์ทางการพยาบาล คือ  ลดอาการหอบกำเริบเฉียบพลัน ลดการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน ลดอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจ ลดอัตราการตาย ลดค่าใช้จ่ายของการรักษา พร้อมกับชะลอการดำเนินการของโรคเพิ่มขึ้นของผู้ป่วย

References

World Health organization. Chronic obstructive pulmonary disease (COPD) [Internet]. [cited 2024 Oct 23]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/chronic-obstructive-pulmonary-disease-(copd)

COPD Thai-guideline. Bangkok: Thoracic Society of Thailand under Royal Patronage; 2023. (in Thai)

Wangsom A. Dyspnea management in patients with chronic obstructive pulmonary disease. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing. 2016;27(1):2-12. (in Thai)

Putti S. The effects of the Isan language video learning media on knowledge and skills to manage acute exacerbation in patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease. Journal of Nursing Science and Health. 2020;43(3):84-96. (in Thai)

Wachirawat W. Effects of a self-management support program in patients with chronic obstructive pulmonary disease on knowledge, self-management behaviors, dyspnea, and lung function. Chon Buri: Burapha university; 2015. (in Thai)

Press VG, Kelly CA, Kim JJ, White SR, Meltzer DO, Arora VM. Virtual Teach-To-Goal™ Adaptive Learning of Inhaler Technique for Inpatients with Asthma or COPD. J Allergy Clin Immunol Pact. 2017;5(4):1032-1039.e1.

Rodkantuk E, Hirunchunha S, Petsirasan R. Acute Exacerbation Symptoms Among Patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease, Triggering Factors, and Management Strategies. Journal of Research in Nursing-Midwifery and Health Sciences. 2017 Jun 30;37(2):1–13. (In Thai)

Tantalanukul S, Isarangura P, Fongkerd S. Self-care to Enhance Quality of Life in Patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease. Boromarajonani College of nursing, Uttaradit journal. 2020;9(2):140-51. (in Thai)

Putti S, Kongkasem P. The development of education and skill on behavior to prevent acute

exacerbation and readmit 28 days in patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease in a hospital. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2024;25(1):402-12. (in Thai)

Worawichianwong S, Siripitayakunkit A, Kanogsunthornrat N. Effect of promoting self-care ability program on knowledge and self-care behavior of chronic obstructive pulmonary disease patients with recurrent acute exacerbation. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2021;22(1):226-34. (in Thai)

Schrijver J, Lenferink A, Brusse-Keizer M, Zwerink M, van der Valk PD, van der Palen J, et al. Self-management interventions for people with chronic obstructive pulmonary disease. Cochrane Database Syst Rev. 2022 Jan 10;1(1):CD002990.

Yadav UN, Lloyd J, Hosseinzadeh H, Baral KP, Bhatta N, Harris MF. Self-management practice, associated factors and its relationship with health literacy and patient activation among multi-morbid COPD patients from rural Nepal. BMC Public Health. 2020 Mar 6;20(1):300.

Jolly K, Sidhu MS, Hewitt CA, Coventry PA, Daley A, Jordan R, et al. Self-management of patients with mild COPD in primary care: randomised controlled trial. BMJ. 2018 Jun 13;361:k2241.

Freedman N. Reducing COPD Readmissions: Strategies for the Pulmonologist to Improve Outcomes. CHEST. 2019 Oct 1;156(4):802–7.

Drugs.com [Internet]. [cited 2024 Nov 7]. How to Use A Metered-Dose Inhaler and a Spacer - What You Need to Know. Available from: https://www.drugs.com/cg/how-to-use-a-metered-dose-inhaler-and-a-spacer.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-14