การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่องในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
คำสำคัญ:
สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ, การวางแผนจำหน่าย, การดูแลต่อเนื่อง, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่อง ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และ 2) ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมฯ โดยเปรียบเทียบคะแนนสมรรถนะพยาบาล ความรู้และทักษะการปฏิบัติ ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ และศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง เป็นพยาบาลผู้รับการพัฒนาสมรรถนะ 21 คนและพยาบาลที่เชี่ยวชาญทางการพยาบาล ซึ่งเป็นผู้ประเมินสมรรถนะ 3 คน ใช้กรอบวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมี 4 ขั้นตอน 1) ขั้นวางแผน วิเคราะห์ปัญหาและออกแบบโปรแกรมฯ 2) ขั้นปฏิบัติตามแผน ดำเนินการตามโปรแกรมร่วมกับการนิเทศ 3) ขั้นสังเกต ประเมินผลการปฏิบัติงานและ 4) ขั้นสะท้อนผล เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่องฯ ผ่านการตรวจคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเท่ากับ 1 เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะและแบบประเมินความพึงพอใจ มีความตรงเชิงเนื้อหา 1, 0.97, 1, 0.97 และความเที่ยง เท่ากับ 0.81, 0.72, 0.84 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบ Wilcoxon Singed-Rank Test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นใช้แนวคิดสมรรถนะพยาบาลโรคหลอดเลือดสมองและวางแผนจำหน่ายดูแลต่อเนื่อง ประกอบด้วย การอบรมให้ความรู้และฝึกทักษะ 2 วัน ร่วมกับการนิเทศ และ 2) ภายหลังการใช้โปรแกรมพยาบาลมีคะแนนสมรรถนะด้านวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่องสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีคะแนนความรู้สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีทักษะการปฏิบัติไม่แตกต่างกันส่วนความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะฯ ที่พัฒนาขึ้น ไปใช้ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมอื่น ๆ ที่มีบริบทคล้ายกับโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี
References
World Stroke Organization [WSO]. Challenges of endovascular treatment of acute ischemic stroke in different regions of the World–questionnaire [Internet]. 2022 [cited 2023 Jun 11]. Available from:
National Emergency Medical Institute, Ministry of Public Health. Mortality rate of cerebrovascular disease in the elderly aged 60 and over [Internet]. 2022 [cited 2023 Aug 2]. Available from: https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/agegroup/index.php?a=6&ht=1&d=2_3
Dechpoonyachit P. Competency of professional nurse in the care of stroke patients. Hua Hin Sook Jai Klai Kangwon Journal. 2020;5(2):1-11. (in Thai)
Ketvatimart M. The roles of professional nurse in the management of stroke patients. Journal of health science research. 2017;11(2):71-80. (in Thai)
Channarong N. Care for acute cerebral ischemia. 3rd ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2009. (in Thai)
Yawinchan S, Chamnanchang W. Development of nursing service system for patients with stroke, Nan Hospital. Nursing Journal of the Ministry of Public Health. 2019;29(3):205-18. (in Thai)
Pasukunthapuk N, Viparksongkoh S. Development of specialty competencies for stroke nurses. Journal of Nursing Division. 2014;41(1):74-87. (in Thai)
Puangchan K, Jinawin S. Effect of using a nursing practice guideline for the care of acute thrombotic or
ischemic stroke patients, Phrae Hospital. Journal of the Phrae Hospital. 2020;28(2):1-17. (in Thai)
Division of Medicine Nursing Maharat Nakhonratchasima Hospital. Summary of the result quality assurance operations Medicine Nursing Maharat Nakhonratchasima Hospital; 2022. (in Thai)
Chaiyarit A. The effect of a simulation-based learning program on the level of knowledge about stroke in third-year nursing students, Boromarajonani College of Nursing, Phutthabat. Southern Nursing and Public Health College Network Journal.2019;6:1-10. (in Thai)
Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. Deakin University. [Internet]. 1988 [cited 2024 Feb 3]. Available from: https://books.google.co.th/books?id=EkhLQAAACAAJ
McClelland DC. Testing for competence rather than for “intelligence”. Am Psychol. 1973;28(1):1-14.
Sawangdee K. Guideline for patient discharge planning. Nonthaburi: Nursing Division, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health Ministry of Public Health; 1996. (in Thai)
Srisuphan W. Nursing research: principles and practice guidelines. Chiang Mai: Textbook Project, Faculty of Nursing Chiang Mai University; 2009. (in Thai)
Puangchan K, Jinnawin S. The effect of implementing nursing practices for the care of acute ischemic stroke patients at Phrae Hospital. Phrae Journal of Public Health for Development. 2020;28(2):1-17. (in Thai)
Kallaya P, Puangchan J, Sirikan J. Effects of nursing practices for acute ischemic stroke patients at Phrae Hospital. Journal of the Phrae Hospital. 2020;28(2):1-17. (in Thai)
Sripara, P. The effect of an advanced life support simulation-based training program on the knowledge and skills of nurses at Kosumpisai Hospital, Maha Sarakham Province. Ubon Ratchathani Rajabhat University Journal of Public Health Research. 2021;10(1):26-35. (in Thai)
Budsree R, Hinjiranan S, Meehanpong P. The effect of coaching model-based mentoring by frontline nursing managers on the performance of professional nurses. Christian University Journal. 2020; 26(2):84-96. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.