ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ต่อการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของมารดาที่มารับบริการในคลินิกเด็กดี สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศุภศิตา ไทยถาวร คลินิกเด็กดี สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรุงเทพมหานคร
  • มณฑาทิพย์ เหตานุรักษ์ คลินิกเด็กดี สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรุงเทพมหานคร
  • พัชราภรณ์ พงค์เขียว คลินิกเด็กดี สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรุงเทพมหานคร
  • บุณยอร สิริกาญจน์ คลินิกเด็กดี สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, คลินิกเด็กดี, สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ในการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ระยะเวลารับบริการ และความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับกลุ่มตัวอย่างเป็นมารดามีบุตรอายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 9 เดือน มารับบริการในคลินิกเด็กดี สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรุงเทพมหานคร จำนวน 144 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 72 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ในการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยเป็นเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมร่วมกิจกรรมตามปกติเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรอบรู้การใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และแบบประเมินความพึงพอใจในการรับบริการ ซึ่งทดสอบหาค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .91 และ .90 ตามลำดับ และค่าความเชื่อมั่นค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟาเท่ากับ 0.83 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ paired sample t-test และ independent sample t-test

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ในการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ในการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และมีความพึงพอใจในการรับบริการสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่มีระยะเวลาเฉลี่ยในการรับบริการน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โปรแกรมนี้ช่วยให้มารดามีความรอบรู้ในการใช้คู่มือฯ ได้อย่างเกิดประสิทธิภาพ สามารถส่งเสริมพัฒนาการบุตรที่บ้านได้สม่ำเสมอและต่อเนื่อง สามารถตรวจพัฒนาการบุตรด้วยตนเองได้ถูกต้องก่อนมารับบริการ ทำให้ระยะเวลารับบริการในขั้นตอนตรวจพัฒนาการลดลงได้

References

Wedeng W. Effects of the LINE@ Appropriate Development Program, Sec.12, on reducing the time and satisfied with receiving services in the Good Child Health Clinic Health Promoting Hospital Health Center 12 Yala [Internet]. 2020 [cited 2023 Jul 09]. Available from: https://hpc12.anamai.moph.go.th/th/academic-works/download?id=79330&mid=23808&mkey=m_document&lang=th&did=27383

Kueiad N, Chaimay P, Woradej S. Situations and factors related to the development of Thai children under 5 years of age: a literature review. Journal of the Southern Region College of Nursing and Public Health Network Journal. 2018;5(1):281-96. (in Thai)

Ministry of Public Health. Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM). Nonthaburi: TS INTERPRINT COMPANY LIMITED; 2016. (in Thai)

Keturen P. Health literacy situation of child rearing among preschoolers of primary caregiver: 4 case study. Journal of Health Promotion and Environmental Health. 2020;43(1):45-58. (in Thai)

Sornsawang A. The Effect of the practice guideline of waiting time service of Outpatient Department, King Narai Hospital. Journal of Health and Environmental Education. 2021;6(4):181-9. (in Thai)

Nutbeam D. The evolving concept of Health literacy. Soc Sci Med. 2008;67:2072-8.

Muang Ngoen A. An application of Lean technique (ECRS+IT) to efficient Book Return Process for Library and Information Center, NIDA [Internet]. 2019 [cited 2023 Jul 09]. Available from:https://www.km.nida.ac.th/th/images/PDF/research/atire.pdf

Pinyakhun P, Cheevakasemsook A, Sanprasarn P. The Development of a diabetic clinic service model by applying lean concept at Chaoprayayomraj Regional Hospital, Suphan Buri Province. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2017;18:280-90. (in Thai)

Boonpitak S, Rutanawijid K, Thoucharee S. Application of lean concepts for reduce time by queuing system (case study in outpatient department : OPD of Phra Pok Klao Hospital, Chanthaburi Province) [Internet]. 2015 [cited 2023 Ju 09]. Available from: https://eresearch.rbru.ac.th/showthesis.php?theid=1056&depid=7

Kayunkid O. Applying LEAN concepts to improve quality of outpatient care: case study from Bhumibol Adulyadej Hospital. Royal Thai Air Force Medical Gazette. 2023;69(1):1-9. (in Thai)

Wanasiri U. Implementation of lean concept in healthcare service sector for reducing waste system: a case study of radiotherapy department tertiary hospital. Naresuan University Journal: Science and Technology. 2016;24(3):75-85. (in Thai)

Chartmontree W, Srisatidnarakul B. Lean concept utilization in nursing service quality improvement: a case study of a tertiary hospital. Journal of Nursing. 2013;25:53-64. (in Thai)

Chimwong T, Nilsu J, Wanitkun N. Applying the LEAN concept for quality improvement in the diabetic clinic of Rayong Hospital. Nursing Journal of The Ministry of Public Health. 2014;24:121-35. (in Thai)

Suharitdamrong V, Klonklang Y. Lean logistics. Bangkok: E.I. SQUARE PUBLISHUNG; 2007. (in Thai)

Pothisart A. Development of a patient discharge process in a surgical ward by applying lean concept at Lamphun Hospital. Lanna Public Health Journal. 2019;15(2):20-33. (in Thai)

Parkpises W, Sitthiworanan C. Implementation of lean in outpatient department at 1the 68th public Health Center at Saphansung. Thai journal of pharmacy practice. 2019;11(1):18-31. (in Thai)

Napathorn C. The Roles of human resource management in lean management: a case study of Thammasat University Hospital. Journal of HR intelligence. 2018;13(2):96-122. (in Thai)

HengboriboonpongJaidee P. Lean management system: concept and practice in public health for community engagement. The Public Health Journal of Burapha University. 2017;12(2):133-43. (in Thai)

Poskinska B. The current state of lean implementation in healthcare-literature review. Quality Management in Health care. 2010;19(4):319-29. (in Thai)

Fine BA, Golden B, Hannam R, Morra D. Leading lean: a Canadian health care leader’s guide. Healthcare Quarterly. 2009;12(3):32-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-12