ผลการใช้โปรแกรมอบอุ่นร่างกายต่ออุณหภูมิแกนกลางและภาวะหนาวสั่นในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวชโดยได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง โรงพยาบาลอุดรธานี
คำสำคัญ:
ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ, ภาวะหนาวสั่น, การผ่าตัดทางนรีเวชบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการใช้โปรแกรมอบอุ่นร่างกายต่ออุณหภูมิแกนกลางและภาวะหนาวสั่นเก็บข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวช โดยได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ที่หน่วยงานวิสัญญีโรงพยาบาลอุดรธานี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 29 ราย โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการอบอุ่นร่างกายด้วยผ้าห่มเป่าลมอุ่นร่วมกับการอุ่นสายน้ำเกลือ ตั้งแต่ระยะก่อนผ่าตัดจนถึงระยะหลังผ่าตัดส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการอบอุ่นร่างกายในระยะก่อนผ่าตัดด้วยผ้าห่มขนหนูสำหรับผู้ป่วย ระยะผ่าตัดและหลังผ่าตัดใช้ผ้าห่มเป่าลมอุ่นให้สารน้ำอุณหภูมิห้องตลอดการผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมอบอุ่นร่างกาย ที่ผู้วิจัยประยุกต์จากโปรแกรมอบอุ่นร่างกายของสาธร หมื่นสกุล และแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการผ่าตัด การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและ ข้อมูลการผ่าตัดโดยใช้สถิติ พรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างของอุณหภูมิแกนและภาวะหนาวสั่นระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วย Mann Whitney U test และ สถิติ Independent t-test
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 44.90 และ 44.76 ปี ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย 22.21 และ 22.83 ระยะเวลาผ่าตัดเฉลี่ย 72.28 และ 72.31 นาที ปริมาณสารน้ำเฉลี่ย 898.10 และ 899.97 ปริมาณการเสียเลือดเฉลี่ย 121.48 และ 122.00 มิลลิลิตร ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าระหว่างผ่าตัดอุณหภูมิแกนของกลุ่มทดลอง (36.70 องศาเซลเซียส) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (36.40 องศาเซลเซียส) และเมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าอุณหภูมิแกนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มทดลองมีคะแนนภาวะหนาวสั่นเฉลี่ยน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .05 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมอบอุ่นร่างกายมีประสิทธิภาพในการป้องกันภาวะหนาวสั่นในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง จึงควรประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดอื่นต่อไป
References
Chitthanom P, Ua-kit N. Effect of giving planned information combined with actively warmed fluid and forced air warming program for shivering women receiving gynecological surgery under spinal anesthesia. Chulalongkorn Medical Journal. 2018;62(5):785-97. (in Thai)
Triwijitsilp P. Tumors and cervical cancer. 3rd ed. Bangkok: OS Printing Hous; 2016. (in Thai)
Punyasawat S. The incidence and factors related to shivering of patients after surgery in Nong Khai hospital. Nakhon Phanom Hospital Journal. 2015;3(1):10-6. (in Thai)
Jingjit K. Factors related to Shivering patient after general anesthesia in recovery room: Trang hospital. Mahasarakham Hospital Journal. 2021;18(1):13-24. (in Thai)
Siriwongkul R. A comparison of temperature controlled in the operating room and the postoperative shivering during cesarean section under spinal anesthesia in Udonthani hospital. Udonthani Hospital Medical Journal. 2016;22(4):141-9. (in Thai)
Clinical nursing practice guideline Hypothermia. Department of Nurse Anesthetist. Udon Thani Hospital. 2020. (in Thai)
Cobb B, Cho Y, Hilton G, Ting V, Carvalho B. Active warming utilizing combined IV fluid and forced-air warming decreases hypothermia and improves maternal comfort during cesarean delivery: a randomized control trial. Anesth Analg. 2016;122(5):1490-7.
Butwick AJ, Lipman SS, Carvalho B. Intraoperative forced air-warming during cesarean delivery under spinal anesthesia does not prevent maternal hypothermia. Anesth Analg. 2007;105(5):1413-9.
Muensakul S. Effects of warming program on core temperature and shivering among women receiving cesarean section under spinal anesthesia. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University. 2013;21(4):62-73. (in Thai)
Samankatiwat S. Incidence of perioperative hypothermia and a comparison of intraoperative body temperature between pre-warming and non-prewarming group in elective gynecologic surgical patients. Region 4-5 Medical Journal. 2017;36(4):207-16. (in Thai)
Loapiroon S. Effects of warming program on core temperature and shivering among pregnant women receiving cesarean section undergoing spinal anesthesia. Nursing, Health, and Education Journal. 2021;4(1):1-11. (in Thai)
Srikhamjak P. Effect of preoperative warming by forced-air warming blanket postoperative body temperature and shivering in patients undergoing elective Cesarean section. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University. 2023;31(2):101–12. (in Thai)
Watayajinda W, Saowakon M, Nawsuwan K, Singweratham N, Khammathit A. The Effect of using forced-air warming blanket combined with intravenous fluid tube warming on core temperature and shivering in patients undergoing transurethral surgery. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University. 2022;30(4):91-101. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.