รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมบริการของบุคลากรทางการพยาบาล โดยใช้แนวคิดสร้างสุขด้วยสติในองค์กร โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • พัชรี ฤทธิสุนทร โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
  • กัลฐิพร ชัยประทานพงษ์ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

พฤติกรรมบริการ, รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมบริการ, พฤติกรรมจริยธรรมพยาบาล, สร้างสุขด้วยสติในองค์กร

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาพฤติกรรมบริการของบุคลากรทางการพยาบาล 2) พัฒนารูปแบบในการแก้ปัญหาพฤติกรรมบริการ 3) ศึกษาประสิทธิผลที่ได้จากการใช้รูปแบบฯ วิธีการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน การวิเคราะห์สภาพปัญหา การพัฒนารูปแบบ  ทดลองใช้ และประเมินประสิทธิผลรูปแบบโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลในพยาบาล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 135 คน เป็นบุคลากรทางการพยาบาลโรงพยาบาลหนองบัวลำภูที่ผ่านการอบรมสร้างสุขด้วยสติในองค์กร ระหว่างเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2564 – สิงหาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือวิจัยที่ใช้ดังนี้ แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต ชุดคำถามประเมินประสิทธิผลการโครงการสร้างสุขด้วยสติในองค์กร ของภาวิณี เพชรสว่าง แบบประเมินพฤติกรรมจริยธรรมพยาบาล ของสภาการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ประเด็น และเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณ เปรียบเทียบระดับสติจำแนกตามความถี่ในการฝึกสติวิธีต่าง ๆ อายุ ประสบการณ์ฝึกสติโดยใช้สถิติ One-way ANOVA เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความเครียด ก่อนและหลังพัฒนา ด้วย Wilcoxon signed-rank test ประเมินผลแบบวัดสติ การมีเมตตาต่อผู้อื่น ความสามารถในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม ความผูกพันต่องาน ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เปรียบเทียบพฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลก่อนและหลังการพัฒนาด้วย Paired t test

ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาพฤติกรรมบริการมีสาเหตุจากความเครียดสะสม ขาดสติสื่อสาร ขาดความตระหนักคุณค่า ในตนรูปแบบการพัฒนาฯ ประกอบด้วยสติในตน สติในทีม และสติในการขับเคลื่อนพันธกิจองค์กร ขั้นตอนการดำเนินงานครบวงจร มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ของผู้บริหาร การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน การนำไปใช้หลังอบรม ภายหลังการใช้รูปแบบ ฯ พบว่าความเครียดของบุคลากรทางการพยาบาลลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและภายหลังการใช้รูปแบบ ฯ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมี    ระดับคะแนนสติ การมีความเมตตาต่อผู้อื่น ความสามารถในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และความผูกพันต่องาน ในระดับมาก  คะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมจริยธรรมของบุคลากรทางการพยาบาลหลังการใช้รูปแบบ ฯ สูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

World Health Organization (WHO). WHO Health and Health System Responsiveness Survey. New York: H & HSR; 2001.pp.573-93.

The Nurses Association of Thailand. Nursing Ethics. Nakhon Pathom: Asean Institute for Health Developement, Mahidol University; 2003. (in Thai)

Wongpiromsarn Y. Mindfulness in Organization: MIO. Nonthaburi: Prosperous Plus; 2017. (in Thai)

Petchsawang P, Duchon D. Workplace spirituality, meditation, and work performance. Journal of Management, Spirituality & Religion. 2002;9(2):189-208. (in Thai)

Baer RA, Smith GT, Allen KB. Assessment of mindfulness by self-report: the Kentucky inventory of mindfulness skills. Assessment. 2004;11(3):191-206.

Tischler L, Biberman J, McKeage R. Link emotional intelligence, spirituality and workplace performance: definitions, model and ideas for research. J Manag Psychol. 2002;17(3):203-18.

Thailand Nursing and Midwifery Council. The Healthcare Competency in Midwifery and Nursing. Bangkok: Siriyod Printing; 2010. (in Thai)

Petchsawang P. Guide to evaluating effectiveness and return on investment: Mindfulness in Organization Project. Paper presented online group meeting; 2022 Aug 31; Bangkok: 1-39. (in Thai)

Nursing Division Ministry of Public Health. Guidelines for collecting indicators to improve quality of nursing 2018 Nontaburi: Suetawan; 2018. (in Thai)

Shapiro SL, Astin JA, Bishop SR, Cordova M. Mindfulness-based stress reduction for health care professionals: Results from a randomized trial. Int J Stress Manag. 2005;12(2):164-76.

Silpakit C. Mindful Living. Nakhon Pathom: Contemplative Education Center, Mahidol University; 2017. (in Thai)

Wongpiromsarn Y. Mindfulness in Organization: MIO. 3rd ed. Nonthaburi: Beyond Publishing; 2014. (in Thai)

Phucharoen W. Mindfulness in Action. Bangkok: Amarin Dhamma; 2019. (in Thai)

Thongjam R, Thongpan S, Leeka J. The development of ethical behavior for professional nurse. Graduate MCU Khonkaen Campus Journal. 2021;8(4):201-13. (in Thai)

Yuenyong N. Ethical behavior of professional nurses. Pathumthani University Academic Journal. 2009; 3(1):1-20. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-08