ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลที่ขึ้นฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด
คำสำคัญ:
ความเครียด, การจัดการความเครียด, นักศึกษาพยาบาล, การสร้างการมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเครียดและการจัดการความเครียด 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมกับความเครียดและการจัดการความเครียดกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 จำนวน 42 คน คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลากตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด 3) แบบสอบถามความเครียด และ 4) การจัดการความเครียดขณะขึ้นฝึกปฏิบัติงานหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด การทดสอบสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบราคได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามที่ 2,3, และ 4 เท่ากับ 0.99, 0.91 และ 0.97 ตามลำดับ หาความตรงเชิงเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์รายข้อเฉลี่ยทั้งชุดเท่ากับ 1 และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และหาค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับวิธีการจัดการความเครียดขณะขึ้นฝึกปฏิบัติงานหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ปัจจัยด้านสัมพันธภาพกับอาจารย์ ด้านสถานที่ฝึกปฏิบัติงาน/สภาพแวดล้อม และโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ด้านพฤติกรรมการสอนของอาจารย์นิเทศ/พยาบาลพี่เลี้ยง ด้านสัมพันธภาพกับอาจารย์ ด้านสัมพันธภาพกับเพื่อน ด้านสถานที่ฝึกปฏิบัติงาน/สภาพแวดล้อม และโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) อาจารย์นิเทศและพยาบาลพี่เลี้ยงที่มีการถ่ายทอดความรู้ที่ดี และสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนภาคปฏิบัติ จะส่งผลให้นักศึกษามีความสุขและสามารถจัดการความเครียดได้อย่างเหมาะสม
References
Chuaichum C, Meuntip Y. Effects of using learning-based approach for preparation of clinical practice on perceived self-efficacy in nursing practice and satisfaction among nursing students in adult nursing practicum 1. Christian University Journal. 2022;28(4):1-14. (in Thai)
Lino MM, Raulino MEFG, Lino MM, Amadigi FR, Castro LSEPW, Kempfer SS. Nursing students’ stress level and how its influence on educational praxis. OALib Journal. 2022;9(9):e9232.
Yodthong S, Sanee N, Chansungnoen J. Stress and coping among nursing students in principles and nursing techniques practicum, Boromarajonani College of Nursing, Trang. The 9th Hatyai National and International Conference. 2018;761-72. (in Thai)
Sihawong S, Fongdee N, Yanarom N, Noinang N, Arnai N, Boonchuen T, et al. Factors causing to stress of nursing students, Ubon Ratchathani University. HCU journal of social sciences and humanities. 2018;21(42):92-106. (in Thai)
Lertsakornsiri M. The stress, stress management of nursing students during practice in the labor room. Kuakarun Journal of Nursing. 2014;22(1):7-16. (in Thai)
Lazarus R, Folkman S. Stress, appraisal, and coping. New York: Springer; 1984.
Tantalanukul S, Wongsawat P. Stress and stress management in nursing students. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal. 2017;9(1):82-92. (in Thai)
Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. New York: United State of America; 1988.
Tantalanukul S. Model of stress reduction for nursing students in Northern-Region Nursing Colleges by Ministry of Public Health [Doctor of Public Health]. Phitsanulok: Naresuan University; 2023. (in Thai)
Department of Mental Health. Stress relief guide. 6thed. Bangkok: Design Construction; 1998. (in Thai)
Nakawatcharangkun L. Compare the effects of group counseling based on Rogers' principles with the effects of training in problem-solving and coping behavior of 2nd year nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Chonburi. [Thesis]. Chonburi: Burapha University; Burapha University; 1999. (in Thai)
Saykaew T, Srisiri S, Saiyudthong S. The factors influenced stress of public health students in College of Allied Health Sciences, Suan Sunandha Rajabhat University, Samutsongkhram Campus. Ph.D. in Social Sciences Journal. 2019;9(3):612-28. (in Thai)
Srichanchai J, Sridan W. The effect of readiness preparation for nursing practice on stress and perceived complements for pediatric nursing practice of nursing students. Journal of MCU Nakhondhat. 2021;8(3):59-73. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.