การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินสำหรับอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์

ผู้แต่ง

  • ก่อศักดิ์ จันทรวิจิตร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง, อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์, การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหา อุปสรรค ในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ในปัจจุบัน 2) พัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน  โดยใช้ ADDIE Model ในการพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างการวิจัย จำนวน 88 คน ประกอบด้วย  ผู้บริหารระดับจังหวัด จำนวน 2 คน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานการแพทย์ฉุกเฉิน จำนวน 2 คน และอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์  82 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบความรู้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน และแบบประเมินความพึงพอใจต่อชุดเรียนรู้ด้วยตนเองฯ ที่พัฒนาขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึง  กรกฎาคม พ.ศ. 2566  แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย  ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากระบบรายงาน การสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนา ระยะที่ 3 การนำไปใช้ และการประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูล  เชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ฯ ของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ Paired t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

            ผลการศึกษา ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ พบว่า การให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ ส่วนใหญ่ คือ อุบัติเหตุยานยนต์ ปัญหาอุปสรรคที่พบ คือ ไม่มีเวลาในการเข้ารับการอบรมทบทวน ฟื้นฟู ความรู้ ตามหลักสูตรที่ภาครัฐจัดให้ และมีข้อเสนอให้เพิ่มศักยภาพด้านความรู้โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้วิจัยได้นำผลจากการศึกษาดังกล่าวมาพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองฯ ในระยะที่ 2  เป็นชุดการเรียนรู้แบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์       (e-Book) ประกอบด้วย เนื้อหา รูปภาพ และภาพเคลื่อนไหว ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดี-ดีมาก นำไปทดลองใช้ในอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ จำนวน 30 คน แล้วนำไปใช้จริงระยะที่ 3 ในอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ จำนวน 50 คน และทดสอบความรู้ เปรียบเทียบ ก่อน-หลัง การใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองฯ พบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) และมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด 

References

Nation Institute for Emergency Medicine. Laws announcements rules conditions criteria and methods regarding education training and certification of emergency responders. Nonthaburi: Ultimate Printing; 2017. (in Thai)

Wungsri K. The EMS system in Thailand. Srinagarind Medical Journal. 2013;28(4):69-73. (in Thai)

Emergency Medical Act B.E.2551. [Internet]. 2008 [cited 2022 Aug 05]. Available from: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/044/1.PDF (in Thai)

Singburi Health Office. General information Singburi province. Proceedings of the 2nd Government inspection; 2022 August 1-2; Sing Buri Province (photocopy)

ITEM: Information Technology for Emergency Medical System [Internet]. 2022. [cited 2022 Dec 1]. Available from:http://ws.niems.go.th/items_front /index.aspx (in Thai)

Brahmawong C. Innovation and technology in teaching education. Bangkok: Thaiwatanapanich Publishing; 1980. (in Thai)

Mcgriff SJ. ADDIE Model Diagram.[Internet] 2008. [cited 2022 Dec 05]. Available from: http://wikieducator.org/File:ADDIE_model_diagram_by_McGriff.gif

Patthanapreechawong N, Sinthavalai R, Memongkol N. Development of a pre-hospital care emergency medical operations system. KKU Research Journal. 2012;17(6):911-32. (in Thai)

Surachit C. Perception and expectation of emergency medical service in Paknamlangsuan hospital, Chumphon province. Region 11 Medical Journal. 2017;31(2):271-8. (in Thai)

Dangsuwan K, Phongsuwan C, Gaseng S, Srichai P, Jeankong B, Masae R, et al. Perceived information of relatives at emergency department, Naradhiwasrajanagarindra Hospital princess. Princess of Naradhiwas University Journal. 2012;4(2):16-28. (in Thai)

Knowles SM. The modern practice of adult education. New York: The education Company publishing; 1980.

Prayoonmahison S, Unahalekhaka A, Chitreecheur J. Self-learning package, infection prevention, child development center, Child care provider. Nursing Journal. 2013;40(4):34-44. (in Thai)

Oliver RL, Desarbo WS. Response determinants in satisfaction judgments. J Consum Res. 1988;14(4):495-507.

Malithong K. Education technology and innovation. Bangkok: Arun Publishing; 2000. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-21