การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง

ผู้แต่ง

  • นิตยา มณีท่าโพธิ์ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • พรรณี ชูศรี โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • สมพร เจษฎาญานเมธา โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • ปัญญา เถื่อนด้วง โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • วิภาพร สิทธิสาตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

คำสำคัญ:

ระบบการพยาบาล, พยาบาลเจ้าของไข้, ผู้ป่วยระยะท้าย, การดูแลแบบประคับประคอง

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ระบบการพยาบาลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ 10 คน และผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง 100 คน วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสถานการณ์ 2) ออกแบบและพัฒนา 3) ทดลองใช้ระบบการพยาบาล และ4) ประเมินผล  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มและตอบแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกเนื้อหาสาระ แนวประเด็นคำถามการสนทนากลุ่ม แบบประเมินคุณภาพระบบการพยาบาล แบบประเมินความรู้ แบบประเมินทักษะ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบบันทึกกิจกรรมการพยาบาล ตรวจสอบความตรงของเครื่องมือพบค่า IOC 0.5-1 และตรวจสอบความเชื่อมั่นพบค่าสัมประสิทธิอัลฟ่าครอนบาค 0.76-0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์สรุปเนื้อหา และสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Wilcoxon signed rank test  และ Chi square’s test

ผลการศึกษา พบว่า  ระบบการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง ประกอบด้วย การจัดระบบพยาบาลแบบเจ้าของไข้ และแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองตั้งแต่ระยะแรกรับจนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยหลังการนำระบบการพยาบาลไปใช้ พบว่า ผู้ป่วยรับการคัดกรองเข้าสู่ระบบการพยาบาลได้ถูกต้อง รับการประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองอย่างถูกต้อง และรับการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้าสูงกว่าก่อนนำไปใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.05 พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจในการใช้ระบบการพยาบาลในระดับมากที่สุด ระบบการพยาบาลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองนี้ จะช่วยให้พยาบาลดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ป่วยแต่ละราย ทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตในระยะสุดท้ายอย่างมีคุณค่า และเสียชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรี

References

World Health Organization. Strengthening of palliative care as a component of integrated treatment throughout the life course. 2014; 28(2): 130-4.

Ministry of Public Health. KPI report 2018-2020. [Internet]. [Cited 2021 Mar 14]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php. (in Thai)

Buddhachinaraj Hospital. Out patient service report 2018 - 2020. Buddhachinaraj Hospital. (in Thai).

Ministry of Public Health. Handbook for Palliative and End-of-Life Care. [Internet]. 2020. [Cited 2022 Mar 30]. Available from: https://www.dms.go.th/back-end//Content/Content_File/Practice_guidelines/ Attach/25640114130713PM_.pdf. (in Thai)

Schroeder K, Lorenz K. Nursing and the future of palliative care. Asia Pac J Oncol Nurs. 2018; 5(1): 4-8.

Sekse RJT, Hunskår I, Ellingsen S. The nurse’s role in palliative care: A qualitative meta-synthesis. J Clin Nurs. 2018; 27(1-2): e21-38.

Subwongcharoen N, Chintapanyakun T. Role of palliative care nurses in tertiary hospitals. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2020; 21(1): 26-34. (in Thai).

Castro MCM. Conservative management for patients with chronic kidney disease refusing dialysis. J Bras Nefrol. 2019; 41(1): 95-102.

Kitreerawutiwong N, Kitreerawutiwong N, Mekrungrongwong S, Keeratisiroj O, Hangsuntea J. Palliative care in district health system. Journal of Nursing and Health Sciences. 2018; 12(1S): 1-12. (in Thai).

Dobrina R, Tenze M, Palese A. An overview of hospice and palliative care nursing and theories. Int L paiilat Nurs. 2014; 20(2): 75-81.

Karacsony S, Chang E, Johnson A, Good A, Edinborough M. Measuring nursing assistants’ knowledge, skills and attitudes in a palliative approach: A literature review. Nurse Educ Today. 2015; 35(12): 1232-39.

Sukhupanyarak M, Malaitong U, Krairatcharoen N, Ardkhitkran S, Ardkhitkran S. The development of palliative care model for cancer patients. Buddhachinaraj Med J. 2018; 35(1): 65-74. (in Thai)

Webb JA, LeBlanc TW. Evidence-based management of cancer pain. Semin Oncol Nurs. 2018; 34(3): 215-26.

Van der Plas AG, Vissers KC, Francke AL, Donker GA, Jansen WJ, Deliens L, Onwuteaka Philipsen Bd. Involvement of a case manager in palliative care rescues hospitalizations at the end of life in cancer patientsซ A mortality follow-back study in primary care. PloS One 2015; 10(7): e0133197.

Bemelmans TMA. Strategic planning for research and development. Long Range Planning. 1979; 12(2): 33-44.

Ozcelik H, Fadiloglu C, Karabulut B, Uyar M. Examining the effect of the case management model on patient results in the palliative care of patients With cancer. Am J Hosp Palliat Med. 2014;31(6): 655-64.

Nilmanat K, Khaw T, Purinthrapibal S, Sae-chit K, Thammachote P. Nurses’ experience in providing transitional care in families of critically and terminally ill patients deciding to terminate treatment: a case study. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council. 2022; 37(1): 42-57. (in Thai)

Tangpulpolwanit N, Suleesathira N, Chuenta S. The development of palliative care system for end of life patients at Yasothon hospital. Journal of Health and Environmental Education. 2020; 5(2): 36-45. (in Thai)

19. Nilmanat K, Sae-chit K. Effects of a Case-based management nursing program for terminally ill patients on their perception of symptom induced suffering and terminal care quality. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council. 2018; 33(3): 51-66. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29