กระบวนการพัฒนาการดูแลฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล และในห้องฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันช่วงโควิด-19 ระบาด: กรณีศึกษาเครือข่ายงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ:
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน; เครือข่ายบริการ; โควิด-19; การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation action research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาการดูแลฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล และในห้องฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันของเครือข่ายงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม - เดือนธันวาคม 2564 การวิจัยมี 3 ระยะ คือ ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะดำเนินการและระยะประเมินผล เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แนวคำถามสนทนากลุ่ม/สัมภาษณ์เชิงลึกความต้องการพัฒนาพยาบาลให้เป็น Smart nurse แนวทางการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบริการสุขภาพ บันทึกภาคสนามพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ร่วมวิจัย และ แบบบันทึกระยะเวลาที่ผู้ป่วยได้รับการรักษา ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วยแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน 1 คน พยาบาลฉุกเฉิน 26 คน และพยาบาลศูนย์สั่ง 3 คน และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) วิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาระยะวิเคราะห์สถานการณ์พบว่า พยาบาลต้องการพัฒนาความแม่นยำในการพยาบาลฉุกเฉิน โดยเฉพาะอย่างยิงการควบคุมอารมณ์เพื่อนำไปสู่การสื่อสารที่มีคุณภาพ ระยะดำเนินการ ใช้วิธีการพัฒนาโดย 1) เสริมความรู้ และสร้างพันธะสัญญา และ 2) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และปรับปรุงผลการปฏิบัติ ระยะประเมินผล ได้ผลการพัฒนาคือ 1) กระบวนการพัฒนาการดูแลที่สอดคล้องกับแนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง 2) พยาบาลทำงานเก่งขึ้นด้าน การถ่ายถอดความรู้สู่ทีมงาน การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงบริการ การสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ การทำงานเป็นทีม และการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ 3) ผู้ป่วย 15 คนที่ดูแล ระยะเวลาการดูแลเป็นไปตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข งานวิจัยนี้ให้ข้อเสนอว่ายุคโควิด-19 ระบาดการพัฒนาพยาบาลผ่านการฝึกอบรมออนไลน์สามารถทำให้พยาบาลให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น และคุณภาพบริการดีขึ้น
References
World Health Organization. cardiovascular-diseases [Internet]. 2018. [cited 2021 May 11]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/ detail/cardiovascular-diseases-(cvds)
Chanakok N. Development of patient care for ST elevated myocardial infarction in acute ischemic heart disease by nursing case management model in Lamphun Hospital. LPHJ 2019; 41(1): 37-43.
Chompookot J, Daenseekaew S. The community networking on increasing successful fast track for people with ST- elevation myocardial infarction of Tambon Phon Thong, Amphoe Renu Nakhoe, Nakhon Phanom Province. Journal of Nursing and Health Care 2017; 35(4): 132-9.
Sungbun S, Piaseu N, Partiprajak S. Quality of care for patients with ST-Segment elevation myocardial infarction using fast track service in Thailand. RMJ 2018; 41(4): 18-26.
Maneeprai J. Development of ST- elevation myocardial infarction care network in Kamphaeng Phet. Journal of Health Science 2015; 24(5):15-31.
Krajaiklang S, Krongthong S, Surason N, Phromtuang S. Development of STEMI fast track service model. MJSBH 2018; 33(1): 45-60.
Strategy and Planning Division. Master plans/ projects and indicators for the fiscal year 2021. Nonthaburi: Ministry of Public Health, Thailand; 2020.
Medical Record Department. Service statistics patients with myocardial infarction. Saraburi Provincial Health Office, Phra- Phutthabat Hospital, Saraburi Province, 2020.
Ghanbari A, Hasandoost F, Lyili EK, Khomeiran RT, Momeni M. Assessing emergency nurses’ clinical competency: an exploratory factor analysis study. IJNMR 2017; 22(4):280-6. doi: 10.4103/ 1735-9066.212990.
Acute coronary syndromes. NICE guideline [Internet]. 2020. [cited 2021 May 15]. Available from https:// www.nice.org.uk/guidance/ng185/resources/ acute-coronary-syndromes-pdf-66142023361477
Chirawatkul S, Chirawatkul A. R to R Step by Step. Bangkok: Vittayyapot; 2013.
Panich V. Transformative Learning. Bangkok:S R Printing; 2013.
Ryan, GW, Bernard HR. Techniques to identify theme. Field Method 2003; 15(1): 85-109.
Chirawatkul S. Qualitative study in nursing. Bang¬kok: Vittayyapot; 2013.
Nolen AL, Putten JV. Action research in education: addressing gaps in ethical principles and practices. Educ Res 2007; 36(7), 401-6.
Akkanit P, Pochana P. Development of STEMI fast track in accidental and emergency department, Waritchaphum Hospital, SakonNakhon Province. SKHJ 2018; 21(1): 99-112.
Srisakhot K, Thipwat S. Development of case management model with ST-Segment elevation myocardial infarction receiving thrombolytic drugs. Journal of Nursing and Health Care 2018; 36(4): 232-42.
Rajbanshi R, Chandra LB. Transformative learning: an approach to understand participatory action research. Transformations 2020; 6(1): 1-17.
Tsimane AT, Downing C. Transformative learning in nursing education: a concept analysis. Int J Nurs Sci 2020; 7(1): 91-8.
Gravett S. Action research and transformative learning in teaching development. Educational Action Res 2004; 12(2): 259-72.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.