การบริการระยะยาวด้านสาธารณสุข และปัจจัยที่สัมพันธ์ กับการปฏิบัติบทบาทผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ผู้แต่ง

  • จันทนา ศรีจารนัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • พรรณิภา ไชยรัตน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีขอนแก่น

คำสำคัญ:

บริการระยะยาว, บทบาทผู้ดูแล, ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอ, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เพื่อวิเคราะห์งานบริการระยะยาว ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับบทบาทการดูแลระยะยาว และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติบทบาทการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ ในเครือข่ายบริการสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้จัดการดูแลระยะยาว กรมอนามัย ปฏิบัติงานร่วมกับกองทุนดูแลระยะยาว ที่มีการเบิกจ่ายเป็นปัจจุบัน และยินยอมเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 93 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานในหน่วยงานสังกัด งานบริการดูแลระยะยาว ระบบสนับสนุนการบริการระยะยาวในชุมชน และการปฏิบัติบทบาทผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน สิงหาคม-ธันวาคม พ.ศ.2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติบทบาทผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ ส่วนการบริการระยะยาวทุกลักษณะบริการ มีความสัมพันธ์ทางบวก กับการปฏิบัติบทบาทผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติบทบาทของผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ คืองานบริการระยะยาว (Beta = 0.324, p <0.01) โดยทำนายได้ร้อยละ 16.5 แสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติบทบาทของผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตรใช้ในการพัฒนาศักยภาพ และระบบกำกับ ติดตามที่จัดให้ ส่งผลกระบต่อการปฏิบัติบทบาท ฉะนั้นหลักสูตรการฝึกอบรม ต้องกำหนดขอบเขต บทบาท แต่ละหน่วยงาน องค์กรให้ชัดเจน และมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการนำสู่การปฏิบัติในพื้นที่จริง

References

1. Institute for Population and Social Research Mahidol University. Thai Health 2017: Empowering vulnerable groups create a society that does not neglect each other. Nakhon Pathom: Ammarin printing & publishing; 2017.
2. Prasartkul P. Aging Situation: Trends and Impacts of Accession to the ASEAN Community. Documentation for the ASEAN Community and Senior Societies Conference; Dec 12, 2013; Miracle Grand Convention Hotel, Bangkok, Thailand [Internet]. 2015 [cited 2021 Jun 15]. Available from: http://hp.anamai.moph.go.th. (in Thai)
3. Office of the National Economic and Social Development Board Office of the Prime Minister Bangkok, Thailand. The Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017-2021) [Internet]. 2018 [cited 2018 April 10]. Available from: http://www.nesdb.go.th/download/plan12.
4. National Health Security Office (NHSO). Public health long-term care system manual to dependent under the community. Nonthaburi: National Health Security Office (NHSO); 2017.
5. Chianwichai K. Roles of nurse care manager in long term care for older persons in community [Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2018.
6. Nuntaboot K. Strengthening local communities in the development of the community health care system and using the sub-district health funds as the support mechanism. presentation paper of Prince Mahidol Award Conference, Bangkok Convention Center at Central world; 2016 Jan 26; 2017.
7. Vorapongsathorn T, Vorapongsathorn S. Sample size determination for research by software package G*Power. Thailand Journal of Health Promotion and Environmental Health 2019; 41(2): 11-21.
8. Vajragupta Y, Kunakornvong W, Phatchana P, Suriyanratakorn S. An Effectiveness Analysis of the Long-Term Care Plans in Udon Thani Province. Journal of Health Systems Research 2018; 12(4): 608-624.
9. Suriyanrattakorn S, Chang CL. Long-term care (LTC) policy in Thailand on the homebound and bedridden elderly happiness, Health Policy OPEN 2 (2021) p1-7. https://doi.org/10.1016/j.hpopen.2020.100026
10. Chuakhamfoo N, Pannarunothai S. Long-term care: what Thailand needs? BMC Public Health 2014; 14(Suppl 1): 6-6.
11. Nimtrakul U, Pomjai P. Development of operational capacity, elderly care manager in long term care district, Health Promotion Region 1. Journal of Graduate Studies Review MCU Phrae 2019; 5(2): 101-113.
12. Hanucharurnkul S, Iemsawasdikul W. Integrated Health Care Management. Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University; 2017.
13. Srithamrongsawat S, Bundhamcharoen K. Synthesis of Long-term Care System for the Elderly in Thailand. Bangkok: Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute (TGRI); 2010.
14. Tineke AA, Vivianne EB. User involvement in long-term care. Towards a relational care-ethics approach. Health Expect 2015; 18(6): 2328–2339.
15. Sinavarat P, Manosoontorn S, Anunmana C. Knowledge, attitudes, and behavior towards oral health among a group of staff caring for elderly people in long-term care facilities in Bangkok, Thailand. M Dent J 2018; 38 (1): 23-38

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28