การเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อเพิ่มศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง ในการจัดการภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนของนักศึกษา

ผู้แต่ง

  • วรัญญา สินจริยานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิลาวัลย์ ชมนิรัตน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมพลังอำนาจ, สถาบันอุดมศึกษา, ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและพัฒนากระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อเพิ่มศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาในการจัดการภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนของนักศึกษา  โดยใช้แนวคิดการสร้างเสริมพลังอำนาจของ Gibson 1995 อาสาสมัครโครงการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน 15 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 24 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การประชุม และแนวทางการสังเกต  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณหาค่าความถี่ ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 ถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในนักศึกษาเกิดจากหลายสาเหตุทั้งจากปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านระบบบริการสุขภาพ จากการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันนำไปสู่การวางแผนพัฒนากระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อเพิ่มศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาในการจัดการภาวะน้ำหนักเกินของนักศึกษา โดยนักศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมกันแลกเปลี่ยน วางแผน ออกแบบรูปแบบการดำเนินงาน ปรับปรุงแก้ไข ประเมินผลการดำเนินงานให้ตรงกับความต้องการ ตรงกับบริบทของสถาบันอุดมศึกษาโดยได้ดำเนินการพัฒนา 3 ระบบหลัก คือ 1) ระบบการคัดกรอง 2) ระบบการดูแลสุขภาพ  3) ระบบการติดตาม เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้ต่อไป

References

1. World Health Organization. Adolescent health [Online] 2018 [cited 2018 October 30]. Available from: http://www.who.int/topics/adolescent_health/en/
2. World Health Organization. Obesity and overweight [Online] 2018 [cited 2018 September 21]. Available from: http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight
3. Pittayathearanan P, Butcho R, Yothasamut J, Ekplakorn W, Teerawatananon Y, Suksombat N, Thavorn Charoensap M. Impact of Overweight and Obesity on Health-care Costs in Thailand. Journal of Health Systems Research 2011; 5(3):287-297.
4. Ratanachuek S, Thaweekun P, Iamsophas O, Suthatworawut U. editors. Obesity Prevention and Treatment Guidelines 2014. Bangkok: Children's Nutrition Club of Thailand Royal College of Pediatricians of Thailand;2014.
5. Noin K Overweight and obesity in Thai students and adolescents. Royal Thai Army Nursing Journal 2017;18:1-8.
6. Tassaniyom N, Tassaniyom S. Health promotion Empowerment. Khon Kaen: Klangnana Wittaya Printing Ltd.;2012.
7. Gibson, C.H. The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of advanced nursing 1995;21:1201-1210.
8. Bureau of Nutrition, Department of Health, Ministry of Public Health. Good shape, good health, just 4 behaviors. Bangkok: Department of Health, Ministry of Public Health;2018.
9. Nilvarangul K. Action Research for Community Nursing. Khon Kaen: Klangnana Wittaya Printing Ltd.;2015.
10. Ekplakorn W. Editors. Report of the Thai people's health survey by physical examination No. 5, 2014. Nonthaburi: Health Systems Research Institute;2014.

11. Maneeratanasuporn T. Insights behind the bubble tea ...you or the blame [Online] 2013. [cited 2018 October 30]. Available from: http://narubolmook.blogspot.com/2013/09/blog-post_12.html
12. Eksan T, Chomnirat W. Modification of Behavior in Food Consumption and Exercise of Elementary School Students with Overweight by The Participation of Family and Community at Primary Schools in The North East of Thailand. Journal of Nursing and Health Care 2020;38(2): 33-42.
13. Singhiranusorn C, Aroonmuang A. (2556). Dietary supplement consumption behavior of high school students of schools in the Government Inspectorate Area 2, Ministry of Public Health. Journal Food and Drug 2013;20(1): 38-47.
14. Phonrat N. Factors related to student physical activity Thammasat University Rangsit Center. Journal Science and Technology 2004;12(1): 65-71.
15. Black, S.R., & Klein, D.N. Early monarchial age and risk for later depressive symptomatology: the role of childhood depressive symptoms. J Youth Adolescence 2012;41(11): 42–50.
16. Sindhu S, Limruangrong P, Tankhampuan T. editors Nurses lead the management of overweight. Bangkok: Wattana Printing Ltd.;2016.
17. Chanthima W. Behavioral modification on over natrition through ecercise and nutrition intervention program in college students. Nakhon Ratchasima: Suranaree University of Technology.2010.
18. Yamsang J, Poomprawait A, Sornkasetrin A. Effects of the Empowerment Program on Behavior Modification Regarding Exercise and Food Consumption among Obese Students in Suratthani Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2015;2(2): 41-52.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28