ประสิทธิผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับหญิงตั้งครรภ์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: ความรอบรู้ด้านสุขภาพ โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ หญิงตั้งครรภ์บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา โดยประยุกต์แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของ Don Nutbeam กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มทดลองโดยได้รับโปรแกรมที่สร้างขึ้น และหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 30 คน เข้าร่วมกิจกรรม เป็นกลุ่มควบคุมได้รับโปรแกรมปกติโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง และดัชนีมวลกาย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (Paired, independent samples t-test)
ผลการศึกษา พบว่า 1) ภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง มีความรู้ความเข้าใจ การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การสื่อสารเพิ่มความเชี่ยวชาญ การรู้เท่าทันสื่อ และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง มีความเข้มข้นของเม็ดเลือดและดัชนี มวลกายแตกต่างกันจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสิติที่ระดับ .01
สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพพัฒนาศักยภาพให้หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพดีกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มควบคุม โรงพยาบาลสามารถนำโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพของหญิงตั้งครรภ์ในการสร้างเสริมสุขภาพ
References
2. Department of Health, Ministry of Public Health. National Reproductive Health Development Policy and Strategy No. 2. Office of Reproductive Health, Department of Health, Ministry of Public Health; 2019
3 Nakhon Ratchasima Provincial Public Health Office. Health Data Center: Maternal and Child Health. Nakhon Ratchasima Provincial Public Health Office; 2020.
4. Institute of Public Health Science Research Department of Medical Sciences. annual report 2018-2019. Institute of Public Health Science Research Department of Medical Sciences; 2019.
5. Thitima C. Growth and development of early childhood. Hua Hin Sook Jai Klai Kangwon Journal. 2019; 1(2): 18-33.
6 Kanchana S. Nursing Care for Pregnant Women. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2563.
7 Nutbeam D. Defining and measuring health literacy: What can we learn from literacy studies. International Journal Public Health. 2009; 54: 303-305.
8. Huai Thalaeng Hospital. Health Data Center : HDC. Huai Thalaeng Hospital Huai Thalaeng district; Nakhon Ratchasima Province; 2561.
9 Kulwadee R. Health Service Research. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2560.
10 Cohen, J. (1969). Statistical power analysis for the behavioral science. New York: Academic Press.
11 Ungsinun I. Health Literacy: Measurement and development. Behavioral Science Research Institute Srinakharinwirot University. Bangkok: Sukhumvit Printing Co., Ltd.; 2017.
12 Boontham K. Techniques for creating data collection tools for research. Bangkok: 7th printing Sri Anan printing; 2553.
13 Yaowadee W. Measurement and Exam Creation. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2008.
14 Teeraporn B, Siriwan S. Effects of the educative supportive program on self-care behavior and hematocrit level among pregnant women with Iron deficiency anemia. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University. 2018; 26(4): 40-50.
15 THANAWAT R. The development of model to promoting self-care behaviors of adolescence pregnancy, Phetchaburi Province. A thesis submitted in partial fulfillment of the requirements for the degree doctor of public health major in health promotion Faculty of Liberal Arts Krirk University; 2018.
16 Oomjai P, Pattawan C. The effect of the maternal roles promoting program by family support on attitude and maternal roles among adolescent mothers. Journal of Health Research and Innovation. 2019; 2(1): 131-142.
17 Azita Fathnezhad Kazemi and Sepideh Hajian (2018). Experiences related to health promotion behaviors in overweight pregnant women: a qualitative study. Kazemi and Hajian Reproductive Health. 2018; (15:219): 1-11.
18 Jongrak suwannarat, Korntanatouch Panyasai. Model of health literacy with participation for prevention in premature pregnancy of teenager. Chonburi Hospital Journal. 2019; 44(1): 13-24