การบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง: กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศรีสุดา ลุนพุฒิ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • นารีรัตน์ หาญกล้า โรงพยาบาลมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดชุมชนเป็นศูนย์กลาง การถอดบทเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้นำชุมชน 8 คน กลุ่มแกนนำชุมชน 12 คน กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 12 คน และกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ 3 คน รวม 35 คน รวบรวมข้อมูลโดยทบทวนเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสร้างบทสรุปย่อย

ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่ที่ศึกษาเป็นชุมชนชนบท ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง มีการใช้สารระเหยมากที่สุดของประชากรกลุ่มเยาวชน ด้านกระบวนการปฏิบัติการดำเนินงานการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง มีหลักการสำคัญคือ 1) การสร้างความตระหนักร่วมในระดับอำเภอ 2) การค้นหาพื้นที่อาสาเพื่อเป็นพื้นที่เป้าหมาย 3) การทำประชาคมสร้างการมีส่วนร่วม 4) สร้างศักยภาพชุมชนเป็นกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนผ่าน 5) การบำบัด การเสริมพลังและการติดตามต่อเนื่องใช้หลักการบูรณาการให้ชุมชนเป็นเจ้าของภาครัฐเป็นพี่เลี้ยง ผลพบว่า ผู้เสพสารเสพติดหยุดเสพต่อเนื่อง 3 เดือน ได้ 12 คน (ร้อยละ 85.71) คดีเกี่ยวข้องกับยาเสพติดลดลง การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมของชุมชนกรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น เป็นความร่วมมือของภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วม ทำให้ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของ กระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน เกิดการพัฒนาแบบบูรณาการในการพัฒนาทุกด้านไปพร้อม ๆ กัน

References

1.United Nations Office on Drugs and Crime (UNDC). Community Based Treatment and
Carefor Drug Use and Dependence Information Brief for Southeast Asia. [Internet].
2014.[cited 2023 July 12];Available from:https://www.unodc.org/documents
/southeastasiaandpacific/cbtx/cbtx_brief_EN.pdf
2. รัศมน กัลญาศิริ(บ.ก.)ข้อเท็จจริงและตัวเลข:สารเสพติดผิดกฎหมายในประเทศไทย ปี2560-2563.
กรุงเทพฯ.บริษัท สหมิตรพัฒนาการพิมพ์:2563.
3.สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภพระหว่างประเทศ.รายงานโรคและการบาดเจ็บประชากรไทย ปี 2556.
นนทบุรี.บริษัท เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด:2558.
4.ศูนย์ปราปรามป้องกันยาเสพติดแห่งชาติ.[อินเตอร์เน็ต].สำเนาคำสั่งป้องกันปราบรามยาเสพติดแห่งชาติที่
3/2561 ลงวัน 8 มีนาคม 2561.2561[ cited 2023 July 12];ค้นคว้าจาก
http://utoapp.moph.go.th/e_doc/views/uploads/5af113419be20-
0742c3780b93bb68f36e9ca6e533abe8-33.pdf.
5.ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข.[อินเตอร์เน็ต].แผนยุทธ
ศาสตร์ด้านการ บำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564-2566.2562[ cited
2023 August 23];ค้นคว้าจาก
https://ncmc.moph.go.th/home/upload/web_download/rptk5fmp8q8sk0soko.pdf
6.United Nations Office on Drugs and Crime (UNDC). [Internet]. World Drug Report 2020,2020
[ cited 2024 February 26];Available from:https:
http://vngoc.org/wp-content/uploads/2020/07/wdr2020_Presentation-CSO_EN_27072020-
rev.pdf
7.ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการบำบัด
ฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติด โดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง (Community Based Treatment and care).
สมุทรสาคร: บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด:2561.
8.วีรวัฒน์ เต็งอำนวย. [อินเตอร์เน็ต].9 ขั้นตอนสู่ชุมชนประสบการณ์การแก้ไขปัญหายาเสพติดในภาค
ตะวันออก10ชุมชนต้นแบบ กรณีศึกษาประชาคมชุมชนเข้มแข็งในการจัดการกับปัญหายาเสพติด.
กรุงเทพฯ: 2560 [ cited 2024 February 26];ค้นคว้าจาก
https://www.oncb.go.th/ONCB_OR2/km1/
9.อัครพล คุรุศาสตรา และ จอมขวัญ รุ่งโชติ.การศึกษาการพัฒนาแนวทางการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้สารเสพ
ติดโดยใช้ชุมชนเป็นศุนย์กลาง ขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ .วารสารวิชาการ กรม
สนับสนุนบริการสุขภาพ ,15(1),12-19:2562.
10.Mendiola Teng-Calleja.et.al . Examining the Impact of Community-Based Behavioral
Drug Treatment:A Case Study from the Philippines. The Journal of Behavioral
Science,2(15),1-15:2020.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29