ประสิทธิผลการสอนโดยใช้สื่อประสมในผู้ป่วยที่สวนล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง หอผู้ป่วยศัลยกรรมระบบปัสสาวะ โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ยุคลธร ทองตระกูล โรงพยาบาลอุดรธานี
  • อมรรัตน์ อัครเศรษฐสกุล คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล สื่อประสม การสวนล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง TUR-P

บทคัดย่อ

การศึกษากึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลการสอนโดยใช้สื่อประสมในผู้ป่วยที่สวนล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง โดยวัดประสิทธิผลจากความรู้ก่อนและหลังการใช้สื่อประสมในผู้ป่วยผ่าตัดต่อมลูกหมาก(TUR-P)ที่ได้รับการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง และประเมินคุณภาพของสื่อประสมด้วยการประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ใช้สื่อประสม หอผู้ป่วยศัลยกรรมระบบปัสสาวะโรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยผ่าตัด TUR-P ที่ได้รับการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่องหอผู้ป่วยศัลยกรรมระบบปัสสาวะ โรงพยาบาลอุดรธานี ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2560 ถึง มกราคม 2561 จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 25 คน  โดยมีการสอนเรื่องการสวนสวนล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง ด้วยสื่อประสม ในกลุ่มทดลอง ส่วนในกลุ่มควบคุมใช้วิธีการสอนด้วยการอธิบายตามวิธีปกติ ในช่วงก่อนผ่าตัด 1 วัน วัดผลการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด 1 วัน และประเมินผลความพึงพอใจต่อคุณภาพของสื่อประสม ในกลุ่มทดลอง ผลการวิจัยพบว่าคะแนนแบบประเมินความพึงพอใจต่อคุณภาพของสื่อประสม ความชัดเจนของภาพประกอบ ความเหมาะสมของรูปแบบ มีความพึงพอใจในระดับมาก (x̄   = 2.93 SD=0.26)  และคะแนนการประเมินความรู้ระหว่างกลุ่มทดลองที่ใช้วิธีการสอนด้วยสื่อประสม มากกว่ากลุ่มควบคุมใช้วิธีการสอนด้วยการอธิบายตามวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ   (P< 0.01)  การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดิทัศน์มีผลทำให้ผู้ป่วยมีความรู้เพิ่มมากขึ้น และให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นบุคลากรสุขภาพควรนำสื่อวีดิทัศน์นี้ไปใช้ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการพยาบาล ป้องกันความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง และเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ดีในหอผู้ป่วยศัลกรรมระบบปัสสาวะ โรงพยาบาลอุดรธานีต่อไป

References

1. Anupan Tantiwong. Type of prostate disease. [database on the Internet]. 2019 [cite 2019 jan 26] Available from: https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=188
2. Annual Report 2018 Urology Surgery Department. Udonthani Hospital.
3. Brown C. T.,Yap T., Cromwell D. A.,Rixson L., Steed L., Mulligan K., et al.Self management for men with lower urinary tract symptoms : randomized controlled trial. British Medical Journal 2006 ; 334 : 25-8
4. Amornrat Akkarasetsakul. Nursing research. Phen Printing; Khon Kaen. 2016
5. Adithep Eidchim. Classification of teaching materials’s Robert E. de Kieffer. [database on the Internet], 2020 [cite 2019 jan 31]. Available from : https://www.gotoknow.org/posts/660817.
6. Nikom Tadaeng et al. Creative and Appropriate Educational Media, Vol. 1(Units 1-8). Sukhothai Thammathirat University. Bangkok: 2015.
7. Arpa Srisoy and Amornrat Akkarasetsakul. The comparative study on the effectiveness of media between Brochures and Video for teaching mastectomy patients at Department of Female Surgery, UdonThani Hospital. Udonthani Hospital Medical Journal. 2020; 28(2) : 203-211.
8. Patcharaporn Jaiboonma. Comparison of the use of teaching materials by the POWER POINT computer program with the use of documents or textbooks in teaching. Towards academic achievement in accounting for specialties, vocational certificate Attawit Commercial Technology College. Attawit Commercial Technology College: 2013.
9. Brown, J.W. and other. AV Instruction : Technology, Media, and Methods. 6th ed. New York :
Association Press ; 1985.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28