การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก บ้านเชียงพิณ ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
กระบวนการพยาบาลชุมชน, การป้องกันและควบคุมโรค,โรคไข้เลือดออก, การมีส่วนร่วมของชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลชุมชนในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก บ้านเชียงพิณ ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้นำชุมชน กรรมการหมู่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เครือข่ายการศึกษาและตัวแทนครัวเรือนจำนวน 143 คน เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายนพ.ศ. 2562 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบความรู้ แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย การสนทนากลุ่มและแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพยาบาลชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การประเมินชุมชนและวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาโรคไข้เลือดออกพบว่าสาเหตุของการมีลูกน้ำยุงลายในชุมชนมาจากการจัดการครัวเรือนและสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม ขั้นตอนที่ 2 การประชุมแกนนำหมู่บ้านวางแผนดำเนินการ ได้ข้อสรุปดำเนินการ 3กิจกรรมได้แก่ การให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก การสำรวจและกำจัดลูกน้ำยุงลาย การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชน ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการตามแผน และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลด้านกระบวนการและผลลัพธ์ พบว่าชุมชนมีส่วนร่วมระดับดี การประเมินผลลัพธ์เปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินการ พบว่า ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกของแกนนำครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ62.5 เป็นร้อยละ93.33 ดัชนีลูกน้ำยุงลายลดลงจากร้อยละ32.18 เป็นร้อยละ3.33 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข และอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลงจาก 69.49 เป็น 14.35 ต่อแสนประชากร ปัจจัยแห่งความสำเร็จมาจากการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างต่อเนื่องจริงจัง การมีผู้นำที่เข้มแข็ง การสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลและเครือข่ายการศึกษา ส่งผลให้การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกมีประสิทธิภาพ
References
July10]. Available from file:///C:/Users/lenovo/Downloads/โรคไข้เลือดออก
2. Bureau of Vector Borne Disease. Annual report. [database on the internet].2018[cited2020
July10]. Available from https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/6f4922f45568161a8cdf4ad2299f6d23/files/Report/Annual
3. Monthicha Raksilp.The participation of community and village health volunteers on prevention and controlling of Dengue fever in Chaeramare Subdistrict, Mueang district, Ubon rachathani Province.Community health development quarterly Khon kaen University 2561; 6(3) :423-438.
4. Orapin Promwiset, Chatri Prachapipat and Sarodh Pechmanee. Prevention and control of Dengue Hemorrhagic fever through community participation by appreciation influence control technique. Banchonggintanin Moo 10 Takukneua Vibhawadi Dictrict Surathani Province.Community health development quarterly Khon kaen University2559;4(2):167-183.
5. Mathuporn Polpong. The development Model for Prevention and control of Dengue fever in Koksak Sub- district, Bangkaew Districty. Phattalung.[database on the internet].2016[cited202 July10]. Available from http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/12120/1/417923.pdf
6. Cheangpin Health Promoting Hospital. The situation of Dengue Hemorrhagic fever in Cheangpin.Annual report 2019.
7. Winai Punauan, Chitima Katonyoo and Wantanee Chavapong. Knowledge and skill in Preventing and controlling Dengue Hemorrhagic fever of health volunteers in Pai District, Maenongson Province 2560.Pikanasan;15(2):149-157.
8. Wimonrat Tanomsridachchai, ThatsawanWatchara, PremikaNemkate and Maneerat Suandokmai.
Participation if village health volunteers on Dengue Hemorrhagic fever prevention and control in Ao Luek district Krabi province.[database on the internet].2017[cited2020 July10]. Available from http://gs.rmu.ac.th/grc2017/fullpaper/file/SC-P-
9. Wanglomglang J. Effectiveness of The Leader Participation on Dengue Hemorrhagic fever Prevention and Control in Banggruy District, Nontabury Province.[Thesis]. Mahasarakham University; 2010.
10. Dao Weiangkham and others. Hemorrhagic Fever Prevention Program on knowledge, attitude and practice of community leaders in Muang District, Phayao Province. Journal of Nursing and Health Care 2560; 35(1):207-214.