ระบบการคุ้มครองด้านสุขภาพและสังคมสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมที่มี ปัญหาและความต้องการการดูแลระยะยาวในชุมชนชนบท
คำสำคัญ:
ระบบการคุ้มครองด้านสุขภาพและสังคม ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม การดูแลระยะยาว ชุมชนชนบทบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานวิธี เพื่อศึกษาสถานการณ์สุขภาพและสังคมของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม ผู้ดูแลและครอบครัว ทัศนคติ มิติการดูแลและปัจจัยสนับสนุนการดูแลในมุมมองของบุคลากรสุขภาพและสังคม/ชุมชน และสังเคราะห์รูปแบบระบบการคุ้มครองด้านสุขภาพและสังคมสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมในบริบทชุมชนชนบท กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม 110 คน ผู้ดูแล 110 คนและบุคลากรด้านสุขภาพ สังคมและชุมชน 114 คน ในพื้นที่โครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมครบวงจร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแนวคำถามสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุเฉลี่ย 81.25 ปี ส่วนใหญ่เป็นชนิดอัลไซเมอร์ ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมและผู้ดูแลไม่รับทราบถึงสิทธิสวัสดิการและการช่วยเหลือที่ควรได้รับ บุคลากรด้านสุขภาพและสังคมเห็นว่า การดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมต้องมีความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รูปแบบระบบการคุ้มครองด้านสุขภาพและสังคมสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมในบริบทชุมชนชนบท จึงเป็นระบบบริการที่ครอบคลุมทั้งบริการสุขภาพและสังคม เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมเข้าถึงบริการและเป็นบริการที่มีประสิทธิภาพ ผู้ดูแลและครอบครัวได้รับการสนับสนุนช่วยเหลืออย่างเหมาะสม
References
1. Prasartkul P, editor. The situation of the Thai elderly in 2016. Bangkok: Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute (TGRI); 2017.
2. Statistical Forecasting Bureau. Some of the uses of statistics in 2012. Bangkok: National Statistical Office, Ministry of Digital Economy and Society; 2012.
3. Aekplakorn W. editor. Thai National Health Examination Survey, NHES V 2014. Bangkok: Health Systems Research Institute (HSRI); 2016.
4. Damrikarnlerd L. Elderly health care system: future directions. Paper presented at The 3rd Thailand Elderly Health Service Forum 2018; 2018 June 13-15; Chaeng Watthana Convention Centre Building, Bangkok, Thailand.
5. Institute Of Geriatric Medicine. Model and dementia care system in Thailand. Model and care system for dementia patients in the Thai context. Nonthaburi: Institute Of Geriatric Medicine, Department of Medical Services, Ministry of Public Health; 2017.
6. Meenanan S. Light at the end of the tunnel of Alzheimer's disease solution. Health Intervention and Technology Assessment Program. 2009; 2(6): 8-9.
7. Muangpaisan W. editor. Prevention, assessment, and care for dementia patients. 4th ed. Bangkok, Thailand: Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University; 2015.
8. Barrientos A. Social protection and poverty: United Nations Research Institute for Social Development. Social policy and Development Program paper, Number 42 January 2010.
9. International Labor Organization Regional and United Nations Working Group of Thailand. Assessing the social protection of consultations at the national level to move towards social protection in Thailand. Bangkok: International Labor Organization Regional Office for Asia & the Pacific in Bangkok (ASIA); 2013.
10. Kuha O, Kumniyom N, Prasitsiriphon O, Thongnum N, Mungklang P, Duangdee P, Vanichvarotm C. Health and Social Protection System of Persons with Dementia with Problems and Need for Long-Term Care in The Rural Community. Nonthaburi: The Institute Of Geriatric Medicine, Department of Medical Services, Ministry of Public Health; 2018.
11. Sritanyarat W, Aroonsang P, Leetongin M, Piyawattanapong S, Subindee S, Kumniyom N, Kongtaln O, Chouwajaroen P, Limpawattana P. Development of Comprehensive Care System for Older Persons with Dementia A Case Study of Ban Fang District, Khon Kaen Province. Nonthaburi: The Institute Of Geriatric Medicine, Department of Medical Services, Ministry of Public Health; 2017.