การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมความปลอดภัยของผู้ป่วยมะเร็งจากภาวะแทรกซ้อนในคลินิกมะเร็ง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สายพิน บุญศรี 0896197945
  • มะลิวรรณ อังคณิตย์
  • อาริยา สอนบุญ

คำสำคัญ:

การพยาบาลป่วยนอก, ความปลอดภัยของผู้ป่วย, แนวปฏิบัติการพยาบาล, ผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยที่มารับบริการ ในคลินิกมะเร็ง

วิธีการศึกษา: การวิจัยเพื่อพัฒนานี้ใช้กรอบแนวคิดการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 4 ระยะ คือ ค้นหาปัญหาทางคลินิก สืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ นำแนวปฏิบัติไปทดลองใช้และนำแนวปฏิบัติที่ปรับปรุงไปใช้จริงในหน่วยงานงานวิจัยและหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องได้จากฐานข้อมูล เช่นCINAHL, ProQuest, Pub Med, Science ช่วงปี ค.ศ. 2002-2016 ได้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีระดับความน่าเชื่อถือในการนำใช้ 9 เรื่อง ผลการสังเคราะห์ในการสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นตรวจสอบเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านและปรับแก้ตามข้อเสนอ รวมทั้งผ่านทดลองและนำใช้ในหน่วยงานเบื้องต้นแล้ว

ผลการศึกษาได้แนวปฎิบัติตามมาตรฐานการพยาบาล 9 ส่วน ดังนี้ ระยะก่อนตรวจรักษา ระยะตรวจรักษา ระยะหลังตรวจรักษาการดูแลต่อเนื่อง การสร้างเสริมสุขภาพ คุ้มครองภาวะสุขภาพ การให้ข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยและการบันทึกทางการพยาบาล 

ผลการนำใช้แนวปฏิบัตินี้กับพยาบาลวิชาชีพ 5 คน พบว่ามีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติมีความชัดเจน ง่ายสะดวก ส่วนการนำใช้กับผู้ป่วยจำนวน 20 คน พบว่าผู้ป่วยปลอดภัยไม่เสียชีวิต ได้รับยาต่อเนื่องตามรอบและความพึงพอใจในการให้บริการตามแนวปฏิบัติร้อยละ88.21

สรุป: ควรนำแนวปฏิบัตินี้ไปทดลองใช้กับผู้ป่วยที่มารับบริการระยะยาวขึ้นเพื่อประเมินติดตามคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

คำสำคัญ: การพยาบาลป่วยนอก ความปลอดภัยของผู้ป่วย  แนวปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัด

* พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หัวหน้างานผู้ป่วยนอกมะเร็งชั้น2 โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

** พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการพยาบาล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

***ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

 

 

 

 

References

. Tohun C. The Faculty of Cancer Statistics 2017. RoiEt Hospital. Thanjai Printing. 2018.
2. Modthong W. Rakphanit P. Ampaipit U. Development of Care System for Patient Safety in Outpatient Department of Medical Service at Buriram Hospital.Journal of Health Science 2017; 23(6): 1044-1050.
3. Saeteaw M, Khuayjarernpanishk T, Mutthapha R & Polyiam S. Assessment of malnutrition in cancer
patients treated with chemotherapy and radiotherapy at the Cancer Hospital. UbonRatchathani. Isan Journal
of Pharmaceutical Sciences 2018; 14(3): 44-55.
4. Wunnasaweg A, Pumthong G, Trumikaborworn S. Oncology Nurse Competency Building Strategies at Cancer Hospital
Under the Department of Medical Service.Journal of Nursing and Health care 2019; 34 (2): 45-54.
5. Soukup M. The center of advanced nursing practice evidence-based practice model. NursingClinic of North Amesica 2000; 35: 301-9.
6. Murray J. Manaul of dysphagial assessment in adult. San Diego: Singular. 1999.
7. Thongprasert S. Cancer treatment with chemotherapy. Chiang Mai: Thanaban Printing. 1993.
8. Nursing Office Ministry of Public Health.Nursing standards. Bangkok: Welfare Organizationveteran. 2005.
9. Nantachaiphan P. Evaluation of quality in the implementation of clinical practice. In the supporting
documentsTraining lecture on evidence-based practice Organized by the nursing service center Between 3-4 June 2006. Chiang Mai: Faculty of Nursing, Chiang Mai University. 2007.
10. DilokSakulchai F. Empirical evidence nursing practice: principles and practices. Bangkok: Faculty
Nursing, Mahidol University, Bangkok. 2010.
11. Thongchap C, Thongprasert S. Cancer Treatment with Chemotherapy. Chiang Mai: Thanaban Printing.
2012.
12. Rosenberg, SA, Restifo NP, Yang JC, Morgan RA, Dudley ME. Adoptive cell transfer: a clinical path
to effective cancer immunotherapy. Nature Reviews Cancer, 2008; 8(4): 299-308.
13. Seiwert TY, Salama JK, Vokes EE. The concurrent chemoradiation paradigm--general principles. Nat ClinPract Oncol.
2007; 4: 86-100.
14. Jirapaet W, Chirapaet K. Theory concepts aboutPatient safety. In VeenaJirapaetandKriangsakChirapaet (Editor),
AdministrationPatient safety Process concepts andClinical Safety Guidelines.Bangkok:Sutthakan Printing. 2012.
15. Supipat P, Khamsemporn M, ChathongyotN, Prasanchum P. Development of a Nursing Care Model for Patients with
Head and Neck Cancer Receiving Chemo-radiotherapy. Journal of Nursing and Health care. 2019; 37(4): 224-253.
16. Wirakitti S, Bushyom. P, IamLor P, Malisen J. Nursing practice development for the prevention of urinary tract infections from urinary catheterization. Journal of Nursing Division, 2010; 37(1): 51-65.
17. Thamwijitkul U, Peeradej N. Development of clinical practice guidelines for personnel of the group nursing in
caring for patients and preventing the spread of new strains of flu in 2009. Sisaket Hospital. Journal of Nursing Division 2009; 36(3): 58-75.
18. Titler MG, Kleiber C, Steelman VJ, Rakel BA, Budreau G, Everett LQ, Goode CJ. The Iowa model of evidence-based practice to promote quality care. Critical care nursing clinics of North America. 2001; 13(4): 497-509.
19. Chalermkitti S, Khamphao P, Promdet S. Patient Safety and Quality of Nursing Service. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2014; 15(2): 66-70.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-28