รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง อาจารย์สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย อาจารย์สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • อ้อยทิพย์ บัวจันทร์ อาจารย์สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2) ทดลองใช้รูปแบบโดยเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยผู้ร่วมวิจัย คือผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน และผู้ที่มีบทบาทและทำหน้าที่รับผิดชอบผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 22 คน ได้แก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (15 คน) อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) (5 คน) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ (2 คน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคำถามกว้าง ๆ (semi-structured question) และแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และสรุปประเด็นตามวัตถุประสงค์การศึกษา แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า

1.รูปแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 3 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 การส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจ รูปแบบที่ 2 การเสริมสร้างคุณค่าของผู้สูงอายุด้วยงานอดิเรก รูปแบบที่ 3 การสืบสานประเพณีวัฒนธรรมไทย ครอบครัวผู้สูงอายุและชุมชนมีส่วนร่วม

  1. เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบ พบว่าคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุหลังการเข้าร่วมทดลองใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนเข้าร่วม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  2. ความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄=4.38±0.48)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-26