การดูแลผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น: บทบาทของพยาบาลในการป้องกันเลือดออกและเลือดออกซ้ำ Caring for Patients with Upper Gastrointestinal Hemorrhage: The Roles of Nurses in Prevention of Bleeding and Repeated Bleeding

ผู้แต่ง

  • นภชนก รักษาเคน

คำสำคัญ:

เลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้น, การป้องกันเลือดออกซ้ำ

บทคัดย่อ

ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทั่วโลก และเป็นสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตปัจจุบันพบอุบัติการณ์การเกิดภาวะนี้ปีละประมาณ 100 คนต่อประชากร 100,000 คน โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงประมาณ 2 เท่า ส่วนใหญ่มักพบในผู้สูงอายุ ร้อยละ 50-70 โดยมีอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยอยู่ที่ร้อยละ 101 สําหรับข้อมูลในประเทศไทยนั้น พบว่ามีอัตราการตายสูงถึงร้อยละ 10 - 20 โดยมักเสียชีวิตในช่วงแรกที่มาโรงพยาบาล อัตราการตาย 26.3 และ25.1 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ในปี พ.ศ. 2559 และ  พ.ศ.2560 ตามลำดับ2  สาเหตุที่ทำให้ต้องเสียชีวิตคือภาวะช็อคจากการเสียเลือด จากสาเหตุอื่นไม่ใช่หลอดเลือดโป่งพองในหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหาร (Non-variceal hemorrhage) และหลอดเลือดโป่งพองในหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหาร (Variceal hemorrhage)ซึ่งล้วนเป็นผลจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมเป็นส่วนใหญ่ เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ชอบรับประทานอาหารหมักดอง อาหารรสจัด เมื่อมีปัญหาสุขภาพจะไปซื้อยามารับประทานเอง ไม่ออกกำลังกาย และพบก่อนการเจ็บป่วยมักดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ทุกวัน และรับประทานยาแก้ปวดที่ไม่ใช่ยาพาราเซตามอล มีความเครียดและความวิตกกังวลสูง3 การใช้ยาสเตียรอยด์ การให้ยาละลายลิ่มเลือด4สำหรับปัจจัยพื้นฐานที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะเลือดออก ได้แก่ เพศ ปัญหาสุขภาพ โรคประจำตัว อายุ การศึกษา อาชีพ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นผลจากความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เจตคติต่อการดูแลตนเอง การรับรู้ประโยชน์ การมีและเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุข การรับรู้นโยบายส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเอง การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลใกล้ชิด จากบุคลากรทางการแพทย์ และการได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ5

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-29