เครื่องมือในการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสารตัวทำละลาย Tools for Assessing Health Effects from Exposure to Solvents

ผู้แต่ง

  • นรากร สารีแหล้
  • พิชัย กันทะชัย
  • ปรัชญา แก้วแก่น
  • ยุทธนา จันทะขิน

คำสำคัญ:

การรับสัมผัสสารตัวทำละลาย, การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ, แบบประเมินทางด้านจิตวิทยาระบบประสาท

บทคัดย่อ

ปริมาณการใช้สารตัวทำละลายในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามสภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น ผนวกกับการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลาย ปัจจุบันสารตัวทำละลายถูกใช้อย่างแพร่หลายในหลากหลายอุตสาหกรรม เป็นที่ทราบกันดีว่าการรับสัมผัสสารตัวทำละลายในความเข้มข้นสูง ๆ หรือติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ จะมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยผลกระทบที่สำคัญ คือ ผลต่อสมองและระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งอาการทางคลินิกที่สำคัญ ๆ คือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ มีอาการที่นำไปสู่การหมดสติ ชัก หรืออาจจะทำให้เสียชีวิตได้โดยทันที ส่วนการรับสัมผัสในระยะเวลาที่ยาวนาน ถึงแม้ว่าความเข้มข้นของสารตัวทำละลายที่รับสัมผัสจะไม่สูงมาก ก็จะส่งผลทำให้เกิดการระคายเคืองทั้งต่อทางเดินหายใจ และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ และส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้เช่นกัน ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นการรวบรวมวิธีการประเมินทางด้านจิตวิทยาระบบประสาทและเครื่องมืออื่น ๆ ที่ใช้ในการประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพที่เกิดจากการรับสัมผัสสารตัวทำละลาย ได้แก่ แบบประเมินทางด้านจิตวิทยาระบบประสาท เช่น แบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง และแบบประเมินมาตรฐานของสถาบันด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานต่าง ๆ รวมไปถึงการประเมินปริมาณความเข้มข้นของสารตัวทำละลายที่สะสมอยู่ในร่างกายโดยการประเมินจากเลือดหรือปัสสาวะ การประเมินการรับสัมผัสโดยการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารตัวทำละลายในบรรยากาศ และการประเมินการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยผู้อ่านจะได้ทราบว่าแต่ละแบบประเมินนั้นมีหลักการและความเหมาะสมในการนำไปใช้ประเมินหรือกำหนดวิธีการคัดกรองทางสุขภาพสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีการรับสัมผัสสารตัวทำละลาย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-29