การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นชุมชนเขตชานเมืองจังหวัด แห่งหนึ่งในภาคอีสานของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา พรมกระโทก คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์

คำสำคัญ:

สถานการณ์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วัยรุ่น

บทคัดย่อ

 ปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มสูงขึ้น การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่องการพัฒนาต้นทุนชีวิตเพื่อลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นเขตชานเมือง กลุ่มเป้าหมายได้แก่ วัยรุ่นอายุ 10-15 ปี และผู้ปกครองของวัยรุ่นที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้เกี่ยวข้องในการดูแลวัยรุ่นในชุมชน เครื่องมือที่ใช้เก็บเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและ แบบประเมินรูปแบบการดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่น (AUDIT) มีค่าความเที่ยงจากสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาช เท่ากับ 0.929 ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) และการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า

              ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น อายุ 10-15 ปี กลุ่มที่ศึกษา จำนวน 11 คน เป็น เพศชาย 4 คน ร้อยละ 36.36 เพศหญิง 7 คน ร้อยละ 63.68  ทั้งหมดเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รูปแบบการดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่น มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับเสี่ยงต่ำ ร้อยละ36.36 ระดับเสี่ยงสูง ร้อยละ 36.36  วัยรุ่นมีการดื่มแบบเปิดเผยมากขึ้น เริ่มดื่มตั้งแต่อายุ 11 ปี ปัจจัยที่ทำให้วัยรุ่นดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล ครอบครัว สิ่งแวดล้อม สังคมวัฒนธรรมประเพณี  และการเข้าถึงได้ง่าย ผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีทั้งด้านร่างกาย  การเรียน อารมณ์และพฤติกรรมไม่เหมาะสม  การป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นที่มีในชุมชนพบว่ามีการดำเนินการป้องกันทั้งระดับ ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และเทศบาล แต่ยังมีลักษณะแยกส่วน ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนารูปแบบการดูแลเพื่อป้องกันและลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นโดยการประสานและเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลวัยรุ่นทุกภาคส่วนในชุมชน

References

1. World Health Organization. Adolescents: health risks and solutions. Fact sheet Updated May 2017. [Internet]. 2017. [Cited 2018 Mar 3].Available from :http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs345/en.
2. World Health Organization. Maternal, newborn, child and adolescent health . [Internet].2017. [Cited 2018 June 12] Available from :http://www.who.int/maternal_child_adolescent/topics/ adolescence/graphics/en/.
3. Center for Alcohol Studies. Liquor: The truth of the situation report on the consumption of beverages Alcohol in Thai society for the year 2015 .Ed 1st. Bangkok; 2016.
4.
Saelim S, Moopayak K, Suwonnaroop N. Factors Related to Alcohol Drinking Behavior of Adolescents. Songklanagarind Journal of Nursing 2017;37(3):25-36. (in Thai)
5. Hashim S, Lerdsuwansri R, Srihera R, Factor Affecting to Senior High School Alcohol Drinking in Pathum Thani Province. Thai Journal of Science and Technology 2017;6(1):1-10. (in Thai)
6.
Chantaramanee A, Lojanapiwat S, Sathirapanya C. Factors and Alcohol Drinking Behaviors of Female Adolescent Studentsin Vocational Schools: Case Study Songkhla Province. Academic Services Journal, Prince of Songkla University 2017;28(2),117-129. (in Thai)
7.
RomSuk C, Idrarat K. The Relationship between Personal Factors and Alcoholic Beverages Drinking Behavior of the Adolescents in Kampangpet Municipal Area, Kampangpet. Journal of Modern Management Science 2012;5(1):50-52. (in Thai)
8. Phowatana A, Uammaneekul N, Lakampan S. Risk behaviors prevention in adolescence : concepts and management in multilevel approach . Ed 1st . Bangkok : 2017.
9. Srirattayawong T, Lirtmunlikaporn S, Unahalekhaka A. Development of a Community Participative Program for Alcohol Drinking Prevention among Secondary School Student . Nursing Journal Volume 2012; 39(1): 46-63. (in Thai)
10. Aryamuang S, Suwannimit A, Chaichan A . Creating guideline of Social immune to care children and youth for prevent alcohol drinking problem. Journal of Nursing Science & Health 2013;36(4) :57-65. (in Thai)
11. Chansaeng S, Ketrat K, Nan-udon R, Komolmalai W, Soonthorn S, Sutheeprasert T. Favtors relating to alcohol consumption behaviors among secondary school male students in nonthaburi province. Community Health Development Quartarly Khon Kaen University 2018;6(2):197-213. (in Thai)
12. Glomjai T, Teinchaitut C, Sangartit S, Sihapark S, na Sakolnakorn P,P. The Collaboration of the Stakeholders in Community to Prevent the Alcohol Consumption Behavior of Young People in Thailand. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2016;17(3),141-148. (in Thai)
13. U.S. Department of Health & Human Services. Strategies for Reducing Adolescent Alcohol Use. Content created by Office of Adolescent Health Content last reviewed on January 19, 2018. Retrieved May 26, 2018,from https://www.hhs.gov/ash/oah/adolescent-development/substanc-use/alcohol / strategies/index.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30