ภาวะผู้นำปรับเปลี่ยนของอาจารย์พยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำปรับเปลี่ยน อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำปรับเปลี่ยนสำหรับอาจารย์ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก การพัฒนาและทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำปรับเปลี่ยนของอาจารย์พยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์พยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีจำนวน 617 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นและคำนวณตามสัดส่วนประชากรของแต่ละชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามภาวะผู้นำปรับเปลี่ยนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบกวนวรรณกรรม ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างจากผู้เชี่ยวชาญ และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-50 ปี การศึกษาระดับปริญญาโท ตำแหน่งอาจารย์ประจำ มีประสบการณ์ด้านการสอน 21 ปีขึ้นไป ภาวะผู้นำปรับเปลี่ยน พบว่า ส่วนใหญ่มีภาวะผู้นำในระดับมากขึ้นไป โดยทักษะที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีความไว้วางใจ การมุ่งความสำเร็จ และการมอบหมายงาน ( = 4.31, 4.23, 4.21 SD= 0.55, 0.66, 0.65 ตามลำดับ) และทักษะที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อย ได้แก่ การจัดการการเปลี่ยนแปลง นักนวัตกรรม และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง ( = 3.96, 3.93, 3.53 SD= 0.72, 0.78, 0.65 ตามลำดับ) ควรมีการพัฒนาภาวะผู้นำปรับเปลี่ยนของอาจารย์ เพื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การจัดการศึกษาจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนโดยเฉพาะผู้นำและผู้สอนต้องมีการปรับเปลี่ยนมุมมอง ทัศนคติ เป็นนักนวัตกรรมและสนับสนุนกรปรับเปลี่ยน
References
2 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. บทวิเคราะห์การศึกษาไทยในโลกศตวรรษที่ 21. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. 2558.
3 พินิจ โคตะการ. ผู้นำและภาวะผู้นำกับความสำเร็จขององค์การ. 2559 Available from: http://phinit0112.blogspot.com/
4 Heifetz, R., Grashow , A., and Linsky, M. The practice of adaptive leadership. 2009 Available from: https://is.gd/sBhWYo.
5 Gillespie, N. M. (2014). Teacher leadership as adaptive leadership. 2014 Available from: http://www.huffingtonpost.com/nicole-gillespie/teacher-leadership-as-ada_1_b_5679343.html.
6 นงลักษณ์ วิรัชชัย. การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินคุณภาพการบริหารและการจัดการเขตพื้นการศึกษา. กรุงเทพฯ: ธารอักษร. 2545.
7 Gold, R. Clinical Supervision (2nd ed.). New York: Holt Rinehart and Winston. 1980.
8 นงลักษณ์ วิรัชชัย. การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2542.
9 สุธี ขันธรักษวงศ์. แผนการพัฒนาอาจารย์วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ. 2550.
10 Coghlan, D. A person-centred approach to dealing with resistance to change. Leadership & Organization Development Journal. 1993;14(4): 10-14.
11 Bass, B. M., & Riggio, R. E. Transformational leadership. Mahwah, NJ: Erlbaum. 2006.
12 อานนท์ แสนแก้ว และประยุทธ ชูสอน. ภาวะผู้นําการปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2559; 10: 180-186.
13 อัจฉรา จุ้ยเจริญ. (2560). Leading Change – นำการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิผล. 2560 Available from: https://is.gd/MoPhCr.