ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการสร้างแรงจูงใจ ในการลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นชาย
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การสร้างแรงจูงใจ วัยรุ่นชายบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการสร้างแรงจูงใจในการลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นชาย กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นชาย จำนวน 108 คน อายุ 17- ปี สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นหลายขั้นตอน เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ 1954 คน และกลุ่มทดลอง 54 คน เป็นการพัฒนาโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพ 6 องค์ประกอบ คือ 1) ความรู้ ความเข้าใจ 2) การเข้าถึงข้อมูล 3) การสื่อสาร 4) การรู้เท่าทันสื่อ 5) การตัดสินใจ และ 6) การจัดการตนเอง ดำเนินการในกลุ่มทดลอง ป็นเวลา สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป 2) แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส และ3) แบบประเมินปัญหาสุรา Alcohol Use Identification Test (AUDIT) วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ paired t-test และ independent t-test กำหนดนัยสำคัญที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ด้านสุขภาพในการลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (mean difference = 35.53, 95%CI: 30.75 ถึง 40.32; p<0.001 ) และมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (mean difference = -8.46, 95%CI : -7.48 ถึง -9.43; p<0.001) เมื่อเปรียบเทียบระหว่ากลุ่ม พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพในการลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (mean difference = 28.40, 95% CI: 23.49 ถึง 33.32; p<0.001) และมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(mean difference = 8.64, 95%CI : 7.48 ถึง 9.80; p<0.001)
ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า โปรแกรมการประยุกต์ใช้ความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการสร้างแรงจูงใจสามารถนำไปสู่ลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นได้
References
1. Kodchaphon lamphongphuang , Somdejpinitsoontorn. Prevalence of Alcohal Drinker in Udon Thani Province, 2015. Journal of Community Health Development Quarterly Khon Kaen University 2016; 4(3) : 427–441.
2. Kanlaya Sanothong, AnnJirapongsuwan, Arpaporn Powwatana and Sukhontha Siri, The Effects of Reduced Alcohol Consumption Behavior Program in Adulthood. Journal of Phrapokklao Nursing College 2018; 29(1) : 77–91.
3. Health Education Dvision Department Of Health Service Support Ministry Of Public Healt. ABCDE- Health Literacy Scale of Thai Adults. Nonthaburi: Health Education Dvision Department Of Health Service Support Ministry Of Public Healt; 2556.
4. Sermsak Khunpol. Center of Alcohol Studies. The media literacy for indirect advertising on social media marketing of alcohol beverages affects to youth drinking of undergraduated in Songkhla province. .[database on the Internet]. 2019 [cited 2019 May 20]. http:// cas.or.th/cas/p=6782.
5. Thapkhwan Srirattayawong, Sumalee Lirtmunlikaporn and Akeau Unahalekhaka. Development of a Community Participative Program for Alcohol Drinking Prevention among Secondary School Student. Nursing Journal 2012; 39(1) : 46–63.
6. Center of Alcohol Studies. Alcohol consumption situation report in Thai society 2015. Bangkok 2016.[database on the Internet]. 2019 [cited 2019 May 20]. http://resource.thaihealth.or.th/library/hot/15059.
7. Pannawit Piyaaramwong, Rungrawee Samawathdana and Aim-utcha Wattanaburanoon. Alcohol drinking prevention program management for lower secondary school female student in Bangkok. J Med Health Sci 2017; 24(1): 55–66.
8. Phiangphim Punrasi and Narongsak Noosorn. Alcohol Drinking Behavior amog Thai Women with Polices to Implement Reduction of Alcohol Consumption. EAU HERITAGE JOURNAL Science and Technology 2017; 11 (2) : 58–69.
9. Center of Alcohol Studies. What is the burden of alcohol on Thai society. [database on the Internet]. 2019 [2019 Sep 20]. http://cas.or.th
10. Suramase Hashim, Rattana Lerdsuwansri and Ramidha Sridha. Factor Affecting to Senior High School Alcohol Drinking in Pathum Thani Province. Thai Journal of Science and Technology 2017; 6(1): 1-10.
11. Thomas F.Babor, John C. Higgins-Biddle, John B. Saunders & Maristela G. Monteiro.(2001). The alcohol use disorders identification test: guidelines for use in primary care, 2 edition 2001. Translate by Paritat Silpakit and Phunnapa Kittirattanapaiboon; 2009.