ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการสารน้ำในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ต่อผลลัพธ์ที่คัดสรร ที่กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมแพ

ผู้แต่ง

  • อัมพร ระวังดี นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การจัดการสารน้ำ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด แนวปฏิบัติการพยาบาล

บทคัดย่อ

การจัดการสารน้ำในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดระหว่างการเริ่มต้นรักษา เพื่อช่วยระบบไหลเวียนโลหิตเป็นความท้าทายที่สำคัญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและเกิดความรุนแรงจนทำให้มีภาวะคุกคามต่อชีวิตได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการสารน้ำในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ต่อผลลัพธ์ที่คัดสรร ที่กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมแพ โดยใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบ Non-randomized control–group pretest posttest design กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่เข้ารับการรักษา ที่กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมแพ ระหว่างเดือนมีนาคม – กรกฎาคม พ.ศ. 2562 จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มเปรียบเทียบที่ได้รับการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยทีมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (ตามแนวทางมาตรฐานของโรงพยาบาล) จำนวน 30 ราย และกลุ่มทดลองได้รับการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยทีมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ร่วมกับแนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการสารน้ำในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 30 ราย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS version 20 และวิเคราะห์ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ Mean ± SD, Independence t–test, Chi-square test และ Relative risk (RR),

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มเปรียบเทียบมีค่าเฉลี่ย Mean Arterial Pressure (MAP) ณ ชั่วโมงที่ 1 และ ณ ชั่วโมงที่ 3 น้อยกว่าผู้ป่วยกลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งมีค่าเฉลี่ย MAP ณ ชั่วโมงที่ 1 เท่ากับ 67.67 mm Hg และ 73.07 mm Hg (SD 9.96, SD 8.40) ค่าเฉลี่ย MAP ณ ชั่วโมงที่ 3 เท่ากับ 72.20 mm Hg และ 78.20 mm Hg (SD 4.78, SD 8.58) ผู้ป่วยกลุ่มเปรียบเทียบมีค่าเฉลี่ย Serum lactate level ณ ชั่วโมงที่ 3 และ ณ ชั่วโมงที่ 6 มากกว่ากลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่าเฉลี่ย ณ ชั่วโมงที่ 3 เท่ากับ 3.36 mmol/L และ 2.17 mmol/L (SD 1.31, SD .85) ค่าเฉลี่ย Serum lactate level ณ ชั่วโมงที่ 6 เท่ากับ 3.39 mmol/L และ 1.76 mmol/L (SD 1.71, SD .61) ผู้ป่วยกลุ่มเปรียบเทียบมีค่าเฉลี่ย Urine output ณ ชั่วโมงที่ 3 น้อยกว่าผู้ป่วยกลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าเฉลี่ย 0.96 mL/kg/hr. และ 3.33 mL/kg/hr. (SD 1.25, SD 2.61) นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับแนวปฏิบัติการพยาบาลเกิดการเพิ่มของค่า MAP ≥ 65 mm Hg ณ ชั่วโมงที่ 1 มากกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ได้รับแนวปฏิบัติการพยาบาล 1.58 เท่า (RR = 1.58, 95% CI 1.70–27.75) ผู้ป่วยกลุ่มทดลองเกิดการลดลงของค่า Serum lactate level < 2 mmol/L ณ ชั่วโมงที่ 3 มากกว่าผู้ป่วยกลุ่มเปรียบเทียบ 4 เท่า (RR = 4, 95% CI 1.48–24.99) ผู้ป่วยกลุ่มทดลองเกิดการลดลงของค่า Serum lactate level < 2 mmol/L ณ ชั่วโมงที่ 6 มากกว่าผู้ป่วยกลุ่มเปรียบเทียบ 3.14 เท่า (RR = 3.14, 95% CI 2.8–29.13) ผู้ป่วยกลุ่มทดลองเกิดการเพิ่มของค่า Urine output ≥ 0.5 mL/kg/hr. ณ ชั่วโมงที่ 3 มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 1.61 เท่า (RR = 1.61, 95% CI 2.31–161.56) พยาบาลวิชาชีพมีค่าเฉลี่ยความมีวินัยต่อการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลอยู่ในระดับสูงร้อยละ 97.50 (SD 6.53) และพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลอยู่ในระดับพึงพอใจมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 คะแนน (SD 0.47)

ผลการวิจัยสะท้อนให้ว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลสามารถช่วยให้ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่ได้รับการจัดการสารน้ำมีความปลอดภัย พยาบาลวิชาชีพมีวินัย และมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล อย่างไรก็ตามควรศึกษาต่อเนื่องไปยังหอผู้ป่วยหนัก หรือหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤต เพื่อยืนยันผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการสารน้ำในโรงพยาบาล

References

1. Malbrain MLNG, Regenmortel NV, Saugel B, Tavernier BD, Gaal PV, Joannes-Boyau O, et al. Principles of fluid management and stewardship in septic shock: it is time to consider the four D’s and the four phases of fluid therapy. Ann Intensive Care [Internet]. 2018[cited 2018 Sep 25]; 8(66): Available from: https://doi.org/10.1186/s13613-018-0402-x
2. Yu B, Tian HY, Hu ZJ, Zhao C, Liu LX, Zhang Y, et al. Comparison of the effect of fluid resuscitation as guided either by lactate clearance rate or by central venous oxygen saturation in patients with sepsis. Zhonghua Wei Zhong Bing Ji Jiu Yi Xue [Internet]. 2013[cited 2019 Aug 5]; 25(10): 578-83. Available from: doi: 10.3760/cma.j.issn.2095-4352.2013.10.002.
3. Juntachum W . Statistics for nursing: Selecting the sampling and selecting sampling units. Khon Kaen; Faculty of Nursing, Khon Kaen University; 2002.
4. Kaewkungwal J, & Singhasivanon P. Sample size in Clinical research. Textbook of clinical research. Bangkok: Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University; 2013. 107-43.
5. Qi H, Gu Q, Liu N, Zhang BY. Mean arterial pressure as an indicator of fluid responsiveness in patients with septic shock. Chin Cri Care Med [Internet]. 2013 [cited 2019 Aug 17]; 25(1): 32-5. Available from doi: 10.3760/cma.j.issn.2095-4352.2013.01.009
6. Ryoo SM, Ahn R, Lee J, Sohn CH, Seo DW, Jin H, et al. Timing of Repeated Lactate Measurement in Patients With Septic Shock at the Emergency Department. The American Journal of the Medical Sciences [Internet]. 2018 [cited 2018 Sep 25]; 356(2): 97 – 102. Available from https://doi.org/10.1016/j.amjms.2018.05.002
7. Li C, Yun D. Improvement effect of early goal-directed therapy on the prognosis in patients with septic shock. Chin Crit Care Med[Internet]. 2015.[cited 2019 Aug 20]; 27(11): 899-904. Available from DOI:10.3760/cma.j.issn.2095-4352.2015.11.007
8. Prowle JR, Chua HR, Bagshaw SM, Bellomo R. Clinical review: Volume of fluid resuscitation and the incidence of acute kidney injury - a systematic review. Critical Care [Internet], 2012[cited 2019 Aug 18]. Available from DOI: Critical Care. doi:10.1186/cc1134
9. Macedo E, Malhotra R, Bouchard J, Wynn SK, Mehta RL. Oliguria in critically ill patients Oliguria is an early predictor of higher mortality in critically ill patients. International Society of Nephrology[Internet], 2018[cited 2018 Sep 3]; 80, 760–67. Available from doi:10.1038/ki.2011.1
10. Wongnaikot P, Effects of Intrahospital Transfer Clinical Nursing Practice Guideline on Selected outcomes among Critically Ill Trauma Patients. 2017. Master of Nursing Science Thesis in Adult Nursing, Graduate School, Khon Kaen University.
11. Phunawakul S, Reungsri N, Montarak O, & Kongros J. The Development of Clinical Nursing Practice Guideline for Patients with Surgery from Traumatic Brain Injury in Phichit Hospital 2017. Department of Medical Serviced Journal[Internet]. 42(6). 102-7. Available from http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/dmsweb_v2_2/content/org/webpageJDMS_30/demo/data/2560/2560-06/2560-06-11-10.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-26