การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตระยะที่ 1 และ 2 โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • กิ่งกมล พุทธบุญ Faculty of Nursing, Khon Kaen University
  • วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างพลังอำนาจ, ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลตนเอง ปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตในระยะที่ 1 และ 2 ในชุมชน และศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ป่วยโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิบสัน มีผู้ร่วมดำเนินการวิจัย จำนวน 39 คน ประกอบด้วย ผู้ป่วย จำนวน 10 คน สมาชิกครอบครัว จำนวน 10 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 8 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 8 คน ตัวแทนจากเทศบาล จำนวน 1 คน และพยาบาลวิชาชีพจากโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แนวทางการสนทนากลุ่ม และแนวทางการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้วิเคราะห์เชิง เนื้อหา (Content analysis)

ผลการวิจัย พบว่าผู้ป่วยไม่เข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต พฤติกรรมการจัดการความเจ็บป่วยไม่เหมาะสม สมาชิกครอบครัวและอสม.ไม่เข้าใจเรื่องโรคและการดูแลผู้ป่วย ผู้นำชุมชนทราบสถานการณ์ปัญหาในชุมชนแต่ยังไม่มีกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา ระบบบริการสุขภาพขาดการติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง จากสภาพปัญหาได้ประชุมระดมสมองแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนและดำเนินการดังนี้ 1)อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตแก่ ผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัว 2)พัฒนากลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อฝึกทักษะการดูแลตนเอง ได้แก่ การติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ความรู้เรื่องโภชนาการลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม และการฝึกสมาธิบำบัด SKT 3) การพัฒนาศักยภาพสมาชิกครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต 4)การพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการเยี่ยมบ้าน 5) การเยี่ยมบ้านและการวางแผนการดูแลผู้ป่วยรายบุคคล 6)รณรงค์ชุมชนรวมพลัง ลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม ลดโรคไตในชุมชน ภายหลังการดำเนินงานตามแผนงานเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ มีผลการดำเนินงานดังนี้ ผลลัพธ์ด้านพฤติกรรมสุขภาพ ผู้ป่วยสามารถจัดการพฤติกรรมการดูแลตัวเองได้ดี ได้แก่ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การควบคุมการอาหาร ลดอาหารเค็มโดยเฉพาะเกลือโซเดียม เพิ่มการออกกำลังกายเป็น 3-5 วันต่อสัปดาห์ และเคร่งครัดการรับประทานยามากขึ้น ผลลัพธ์ทางคลินิก ผู้ป่วยเบาหวานสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)ได้จำนวน 9 คน สามารถลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) จำนวน 7 คน และสามารถเพิ่มอัตราการกรองของไต (eGFR)  จำนวน 6 คน ทุกกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ส่งผลให้เกิดการดูแลผู้ป่วยในชุมชนร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง เกิดผลลัพธ์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีขึ้น ทำให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อเสนอแนะ ในกลุ่มผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้  เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการควรมีการหาแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจและติดตามพฤติกรรมของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

References

Reference
1. IDF diabetes atlas - Home. [Internet] 2017 [cited 2017 May 24]. Available from: http://www.diabetesatlas.org/.
2. National Diabetes Statistics Report. [Internet] 2017 [cited 2017 May 24]. https://www.cdc.gov/diabetes/pubs/statsreport14/national-diabetes-report-web.pdf.
3. Thanaphan Suksa-ard, Wansuda Ngam-aroon, Wichukorn Suriyawongpaisal editor. Disease situatioa report NCDs kick off to the goals. Nonthaburi: n.p; 2016.
4. Warangkana Pichaiwong. Diabetic Kidney Disaese. Journal of Department of Medical Services. 2015;40(5):19-24.
5. Pisit Wetchakama, Atiporn Insathit, Attia, John, AmmarinThakkinstian, Epidemiological Study of Chronic Kidney Disease Progression:A large-Scale Population-Based Cohort Study. Health Systems Research Institute (HSRI) [Internet] 2015 [cited 2017 May 24]. Available from: http://kb.hsri.or.th/dspace/discover.
6. Bureau of Non Commonicable Diseases. Model preventing and controlling CKD -NCDs. Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand Under Royal Patronage of His majesty the King; 2016.
7. Amnatcharoen Provincial Health Office (2017). Data Center. [Internet]. 2017 [cited 2017 May 24]. Available from: http://www.amno.moph.go.th/.
8. KessarawanNilvarangkul. Action Researchfor Community Nurse. KhonKaen: Klangnanavittaya Press; 2015.
9. Paramet Namchoo. The Effect of Empowerment Program on Physiological Adaptation Mode and HbA1C in Type 2 Diabetic patients [dissertation] KhonKean: KhonKean University; 2010.
10. Nit Tassana niyom, Somphon Tassana niyom. Health promotion : Empowerment. Khon kaen : L.P. Klungnana Vitthaya Press; 2012.
11. Apinya Lunnakan. The effects of the family empowerment program on prevention behaviors of diabetes type 2 of families at risk at Kasetwisai Sub-district, Kasetwisai District, Roi Et Province. [dissertation] KhonKean: KhonKean University; 2015.
12. Perkins, D.D., & Zimmerman, M.A. Empowerment theory, research, and application. American Journal of Community Psychology. 1995;23(5):569-579.
13. Diabetes Association of Thailand under The Patronage of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. Clinical Practice Guideline for Diabetes 2017. Pathumthani: Romyen Media; 2017.
14. The Nephrology Society of Thailand . Practice guideline for chronic kidney disease before renal replacement therapy 2015. Bangkok: Boehringer-ingelheim-thai-ltd; 2015.
15. Somporn Kantaradusdi- Triamchaisri. Meditation practice for healing. Bangkok : Samcharoen Panich Co., Ltd; 2009.
16. Bancha Satirapoj, Amnat Chaiprasert, Naowanit Nata, Prajest Ruengkanchanaset, Upathum Suppasin and Panbubpa Choovichian editors. Essential Nephrology2nd edition. Bangkok: Nam Akson Printing House; 2014.
17. KatekaewJanjumras and DuangnatePipatsatitpong. Prevalence of Diabetic Nephropathy in Type 2 Diabetes Mellitus at Somdejprapinklao Hospital. Journal of the Medical Technologist Association of Thailand. 2016;44(1):5508-5521.
18. Chinnakorn Dankasaiand and PetchsavaiLimtragool. Delay of Renal FuntionDeterioationtion in Diabetic Nephropathy Patients in PraklangungSubdistrict’s Community, That Panom District, NakhonPanom Province. Journal of Nursing and Health Care. 2016;34(2):6-13.
19. Chanissada Suradechawut, YaowalakAmrumpai, Charoen Treesak. Empowerment Process for Individual Diabetic Patients. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences. 2011;7(2):60-69.
20. Orapin Nakklom. Competency Enhancement of Village Health Volunteers in Caring Hypertensive Patients. Journal of Nursing Science & Health. 2014;37(3):76-83.
21. MintraSararuk. Empowerment of Village Health Volunteers (VHV). Journal of UbonRatchathaniuniversity. 2010;12(2):39-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-26