การพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ : ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ธรณินทร์ คุณแขวน
  • พรภัทรา แสนเหลา
  • เดือนเพ็ญพร ชัยภักดี

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, การดูแลสุขภาพตนเอง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม ( เทคนิค A-I-C ) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ : ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ มีผู้เข้าร่วมศึกษา คือ ผู้สูงอายุ 100 คน ตัวแทนชุมชนจำนวน 15 คน และตัวแทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง 4 คน รวมทั้งสิ้น 119 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ การสังเกตการมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ความเที่ยงแบบสัมภาษณ์ ได้ค่าสัมประสิทธิ์ 0.83 นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า หลังจากการใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้ระดับสูงมากและการปฏิบัติในระดับดีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) นอกจากนั้น ยังได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ 4 โครงการ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ และความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี การวางแผนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เทคนิค A-I-C ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนในการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมในการพัฒนาการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถนำเทคนิค A-I-C ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดการมีส่วนร่วมในเรื่องอื่นๆ ได้

References

1. Foundation of Thai Gerontory Research and Development Institute (TGRI). Situlation of the Thai elderly 2016, Thailand; 2016.
2. Mille AM. Iris M. Health promotion attitudes and strategies in older adults. Health Education Behavior 2002; 29 (2): 249-67.
3. Keasisom B, The Results of Group Process to Elderly’s Promotion Behavior in Thumbonklongchanoun Weingsa District Suratthani Province. Community Health Development Quarterly Khonkaen University. 2017; 5 (2): 177-193.
4. Boontae U., Tawchantuk S. Elder’s health status and quality f life under the health care provided by community network and simulated families. Journal of nursing and health care. July-September 2017; 35(3): 176-185.
5. Gadudom P., Hemchayat M. Effects of an Elderly Health Promotion Program in Bangkaja Sub-District Municipality, Amphur Muang, Chanthaburi. . Journal of Phrapokklao Nursing College. March-August 2011; 22(2): 61-70.
6. Kaeodumkoeng K., Thummakul D. Health literacy promoting in aging population. Journal of health science research, July-December 2015; 9(2): 1-8.
7. Rasiri T., Songthap A., Health Promotion for the Elderly: Guidelines for strong partnership and dynamic network participation in the 21th century.The southern college network journal of nursing and public health. January-April 2018; 5(1): 315-328.
8. ประเสริฐ อัตสันตชัย. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และการป้องกัน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2552.
9.Gadudom P., Hemchayat M. Effects of an Elderly Health Promotion Program in Bangkaja Sub-District Municipality, Amphur Muang, Chanthaburi. . Journal of Phrapokklao nursing college. March-August 2011; 22(2): 61-70.
10. Rasiri T., Songthap A., Health Promotion for the Elderly: Guidelines for strong partnership and dynamic network participation in the 21th century.The southern college network journal of nursing and public health. January-April 2018; 5(1): 315-328.
11. Khaemnin K., Kompor P., Potential Development in Elderly Health Self-Care: Ban Kogesa-Ad Moo 4 Ho Kham Sub-District Mueang Bueng Kan District Bueng Kan Province. KKU Journal for Public Health Research. July-September 2013; 6(3): 75-84.
12.ปรเมษฐ์ วงษ์พุทธิชัย. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกำลังกายของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในระดับประถมศึกษา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม.(วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยมหิดล; 2550.
13. คมกริช หุตะวัฒนะ. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุตำบลพันชนะอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา.(วิทยานิพนธ์). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา; 2553.
14. รุ่งกานต์ ปราชญ์ศรีภูมิ. การพัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุโดยการผนึกกำลังของชุมชนตำบลโค้งยางอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา; 2553.
15. Mahem K., Srioat P. The Effectiveness of the Appreciation Influence Control (AIC) Process to Improve Knowledge and Behavior on Self -care of Older People at Banped Subdistrict, Muang District, KhonKaenProvince. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima. July-December 2012; 18 (2): 5-19.
16. Lainumngun P., Khamra C., Dejthai T. The Participative Management for Elderly Clubs Implementation in Kokjaroen District of Lopburi Province. KKU Research Journal. 2010; 15(1): 45-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-26