การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายจากโรงพยาบาลสู่บ้าน โรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น Development of Care Model for Patients with End Stage of Cancer: from Hospital to Home Ubonrat Hospita, Khon-Kaen Province
คำสำคัญ:
รูปแบบการดูแล ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย การส่งต่อการดูแลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายจากโรงพยาบาลสู่บ้าน โดยใช้ทฤษฎีระบบ (System Theory) เป็นกรอบบริหารและนำวงจรพัฒนาต่อเนื่องของเดมมิ่ง (Deming cycle) เป็นเครื่องมือดำเนินงาน ดังนี้1) การวิเคราะห์ปัญหาและวางแผน 2) การลงมือปฏิบัติ 3) การประเมินผล 4) การปรับปรุงพัฒนาต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงได้แก่ ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย จำนวน 30 คน ญาติผู้แล จำนวน 30 คน ทีมสหสาขาวิชาชีพ จำนวน 15 คน และเครือข่ายชุมชน 4 เครือข่ายที่เข้าร่วมวิจัย จำนวน 15 คน รวม 90 คน ศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2560 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายและแบบส่งต่อการดูแลระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ 0.95 และ0.87 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การแจกแจงความถี่และร้อยละข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1)ปัญหาและสถานการณ์ คือไม่มีแนวปฏิบัติชัดเจน ผู้ปฏิบัติขาดความมั่นใจ ขาดส่งต่อข้อมูลการดูแล 2) การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย มีดังนี้ 2.1) การจัดประชุมทีมระดมสมองเพื่อหารูปแบบการดูแล 2.2) การจัดอบรมให้ความรู้แก่ทีมสหสาขาวิชาชีพ 2.3) การแต่งตั้งณะทำงานเพื่อกำหนดหน้าที่ 2.4) การส่งต่อสู่ชุมชนโดยการเยี่ยมบ้าน ผลลัพธ์หลังพัฒนาพบว่าผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายได้รับการดูแลตามรูปแบบ ร้อยละ100 เสียชีวิตอยู่โรงพยาบาล ร้อยละ10 ส่งต่อดูแลที่บ้าน ร้อยละ 90.00 เสียชีวิตขณะอยู่บ้าน ร้อยละ 62.96 มีชีวิตอยู่ร้อยละ 37.03 ผลของรูปแบบการดูแลพบว่ามีความเหมาะสมนำไปใช้ได้จริง ร้อยละ93.33 ความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลอยู่ในระดับมาก (x̅ = 2.91, SD= 0.61) และความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับมาก (x̅ = 2.86, SD= 1.75) ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ทีมสหสาขาวิชาชีพมีรูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่ลดรอยต่อการดูแล จึงควรขยายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลทั่วไป เพื่อให้เกิดระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น