ปัจจัยสาเหตุของการฝากครรภ์ครั้งแรกล่าช้าของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในชุมชนDeterminants of late start of antenatal care among pregnant teenagers in community

ผู้แต่ง

  • ทิพย์วรรณ โพธิ์ตา
  • รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
  • รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
  • พรนภา หอมสินธุ์

คำสำคัญ:

การฝากครรภ์ครั้งแรกล่าช้า หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง case-control study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสาเหตุของการฝากครรภ์ครั้งแรกล่าช้าของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในชุมชน   การศึกษานี้ใช้ทฤษฎีอิทธิพลสามเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ หญิงตั้งครรภ์ที่อายุน้อยกว่า 20 ปีที่มารับบริการฝากครรภ์ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล ในจังหวัดนครปฐม  จำนวน  220  ราย  แบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่  กลุ่มศึกษา  (Case)  คือ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการฝากครรภ์หลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์  จำนวน  110  ราย  และกลุ่มเปรียบเทียบ  (Control)  คือ  หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการฝากครรภ์ภายในอายุครรภ์  12 สัปดาห์  จำนวน  110  ราย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย  แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล  แบบวัดความตั้งใจการตั้งครรภ์  แบบวัดการรับรู้ความสามารถในการมาฝากครรภ์   แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการฝากครรภ์  แบบวัดเจตคติต่อการตั้งครรภ์และการฝากครรภ์   และแบบสอบถามการยอมรับการตั้งครรภ์ของคู่สมรส/คู่รัก  ครอบครัว และชุมชน  โดยมีค่าความเที่ยงครอนบาคอัลฟาอยู่ระหว่าง 0.70-0.97  และแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์  มีค่าคูเดอร์-ริชาร์ดสัน-20  เท่ากับ .81  วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาและ Binary Logistic Regression  ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%   

                ผลการวิจัยพบว่า   ปัจจัยสาเหตุของการมาฝากครรภ์ครั้งแรกช้าของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95%   ได้แก่  การรับรู้ความสามารถในการฝากครรภ์ (ORadj = 9.15, 95% CI = 3.02-27.72)  ความรู้เกี่ยวกับการฝากครรภ์ (ORad = 11.81, 95% CI = 4.16–33.50)  เจตคติต่อการตั้งครรภ์และการฝากครรภ์ (ORadj= 4.54, 95% CI =1.51–13.63)  การยอมรับการตั้งครรภ์จากครอบครัว  (ORadj= 15.37, 95% CI = 5.27-44.80)  และการยอมรับการตั้งครรภ์จากชุมชน  (ORadj= 18.00, 95%CI= 5.12-63.27)  ดังนั้น ในการจูงใจให้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมาฝากครรภ์ภายใน 12 สัปดาห์แรกที่ตั้งครรภ์ พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนควรมีการดำเนินงานเชิงรุก  โดยเน้นการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์ทั้งแก่ตัวหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น  ครอบครัว  และชุมชน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28