“ลูกเจริญเติบโตสมวัย” การรับรู้ความหมายและพฤติกรรมการให้อาหารของผู้ดูแลเด็กวัย 0 - 5 ปี “Child Optimal Growth” Perception of Meaning and Feeding Practice of Caregiver-Child 0– 5 years.”

ผู้แต่ง

  • รรฤณ แสงแก้ว
  • ศุทธินี ปิยะสุวรรณ์
  • จิดาภา ผูกพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่ออธิบาย ความเข้าใจเกี่ยวกับ “การเจริญเติบโตตามเกณฑ์ปกติในเด็ก” และการจัดเตรียมอาหารสำหรับเด็ก  ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ดูแลหลักที่มีหน้าที่ในการดูแลและจัดอาหารสำหรับเด็กวัย 0 – 5 ปี  ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเขตเมือง และชุมชนนอกเขตอำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าผู้ดูแลเด็กมีการรับรู้ที่ไม่ถูกต้องเรื่องการเจริญเติบโตสมวัย  ขาดความเข้าใจถึงความหมายของการมีภาวะสุขภาพที่ดีของเด็ก  นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ดูแลขาดความตระหนักถึงความสำคัญในการประเมินการเจริญเติบโตของเด็ก ทำให้ขาดการเฝ้าระวังความผิดปกติในการเจริญเติบโตของเด็ก  ส่วนพฤติกรรมการให้อาหารของผู้ดูแลเด็กวัย  0 - 5 ปี ผลการวิจัยชี้ให้เห็นปัญหาของการให้อาหาร คือ ชนิดและปริมาณของอาหารที่จัดเตรียมไม่เหมาะสม  วิธีการจัดเตรียมและการดูแลให้เด็กได้รับอาหารอย่างเพียงพอ ผลการศึกษาทำให้ทราบถึงการขาดความรู้เกี่ยวกับการเจริญเติบโต  พัฒนาการและภาวะโภชนาการในเด็ก  บุคลากรทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรหารูปแบบที่เหมาะสมในส่งเสริมการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเจริญเติบโตสมวัยของเด็ก รวมทั้งหาวิธีการส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กที่ง่ายต่อการนำไปใช้ เพื่อให้เด็กได้รับอาหารที่เหมาะสมและมีภาวะโภชนาการตามวัยต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28