ปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาลไปสู่การปฏิบัติของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 กระทรวงสาธารณสุข Selected Factors Influencing Success of Risk Management Policy Implementation by First-Line Managers in Community Hospitals Area Health 7, Ministry of public Health

ผู้แต่ง

  • นุชศรินทร์ แพงมา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย มหาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

นโยบายการบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาล การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบการพยากรณ์นี้  มุ่งศึกษาปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาลไปสู่การปฏิบัติของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นโรงพยาบาลชุมชน  เขตสุขภาพที่ 7  กระทรวงสาธารณสุข  ประกอบด้วย  คุณลักษณะส่วนบุคคล  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  การทำงานเป็นทีม  และการมีส่วนร่วมของ ผู้ปฏิบัติ 

        กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงาน/แผนกของกลุ่มการพยาบาล ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป  ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย  จำนวน 162 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคล  ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีม  ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติ  และความสำเร็จของการนำนโยบายการบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาลไปสู่การปฏิบัติ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  SPSS  for  Windows  Version 19  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์  ได้แก่  การแจกแจงความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การประมาณค่าเฉลี่ยที่ช่วงความเชื่อมั่น 95% 

ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน  และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

        ผลการวิจัยพบว่า  ความสำเร็จของการนำนโยบายการบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาลไปสู่การปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09  (S.D. =  .51,  95%CI = 4.01 - 4.18)  ปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาลไปสู่การปฏิบัติ  ได้แก่  ปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีม  (Beta =  .397, p < .001)  ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติ  (Beta =  .311, p < .001)  และปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  (Beta =  .194, p = .014)  โดยทั้ง 3 ปัจจัยนี้สามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 69.9  (R2 = 0.699)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28