วิถีการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน: ความหมายและการจัดการ Way of Elderly Health Care in Community: Meaning and Care Management

ผู้แต่ง

  • อาริยา สอนบุญ
  • อุไร จำปาวะดี
  • ทองมี ผลาผล

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ภาวะสุขภาพ, การวิจัยเชิงคุณภาพ

บทคัดย่อ

วิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนานี้ เพื่อศึกษาวิถีการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ศึกษาในตำบลแห่งหนี่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เก็บข้อมูลในผู้สูงอายุและผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน 52 คน ในช่วงเดือนเมษายน – ตุลาคม พ.ศ. 2560 วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต สัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

 ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมองว่าการดูแลสุขภาพเป็นความรับผิดชอบส่วนตัวที่ต้องดูแลตนเองให้ดีที่สุด มากกว่าการหวังพึ่งพาลูกหลาน โดยมีเงื่อนไขสังคมวัฒนธรรมอันเป็นวิถีชีวิตที่อธิบายภาวะสุขภาพปัจจุบัน มี 3 กลุ่ม ได้แก่ “แข็งแรงดี” “เสื่อมตามวัย”  และ “เจ็บป่วยแต่ยังดูแลเองตนได้” ทั้ง 3 กลุ่มนี้มีความพยายามในการดูแลตนเองให้ดีที่สุด คือ “เบิ่งเจ้าของเอา” “ย่านเขายาก” ส่วนกลุ่มที่ป่วยมีความต้องการการช่วยเหลือดูแลที่ขึ้นกับบริบทของผู้ดูแล ซึ่งทำให้ผู้สูงอายุรับรู้ได้ถึงวิธีการจัดการที่เหมาะสมระหว่างตนเองกับผู้ดูแล ได้แก่  “ซ่างมัน” “แล้วแต่เขาสิเบิ่ง” ซึ่งเป็นความหมายที่เป็นไปตามวิถีสังคมของผู้สูงอายุในชุมชน 4 วิถี ได้แก่ อยู่กับลูกหลาน อยู่กับญาติ อยู่กับคู่และอยู่คนเดียว ที่สะท้อนภาพของการจัดการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ใน 3 ระดับ ดังนี้ ผู้สูงอายุดูแลตนเอง ครอบครัวและชุมชนที่ต้องดูแลกัน ที่เป็นเงื่อนไขการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์กับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน สิ่งที่สะท้อนภาวะสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุขึ้นอยู่กับสัมพันธภาพของสมาชิกในครัวเรือนและชุมชน ในการเอาใจใส่ ช่วยเหลือดูแลกัน “อุ่นอกอุ่นใจ” ทั้งในภาวะปกติและเจ็บป่วย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-29