เปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ ความตระหนักและลักษณะการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินในวัยรุ่นชาย Comparison of knowledge, attitudes, awareness and characteristics of emergency contraceptive pill use in male adolescents

ผู้แต่ง

  • ณัฐธยาน์ วิสารพันธ์
  • นุชรีย์ แสงสว่าง
  • บุศรา แสงสว่าง

คำสำคัญ:

ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน วัยรุ่นชาย ทัศนคติ ความตระหนัก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ ความตระหนักและลักษณะ     การใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินในวัยรุ่นชาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย  อายุ 13-19 ปี จำนวน 170 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 85 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ ความตระหนัก และลักษณะการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินในวัยรุ่นชาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และ Independent t-test

ผลการศึกษาพบว่า ทั้งสองกลุ่มพักอาศัยกับบิดามารดา (ตอนต้น 60% ตอนปลาย 52.9% ) ไม่เคยคุยเรื่องแฟนหรือคนรัก เรื่องเพศหรือการคุมกำเนิดกับผู้ปกครอง(ตอนต้น 90.6% ตอนปลาย 84.7%) ทั้งสองกลุ่มมีความรู้ระดับปานกลาง โดยส่วนใหญ่เข้าใจว่ายาคุมกำเนิดฉุกเฉิน มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดี ถ้าใช้ภายใน 72 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์(ตอนต้น  38.8% ตอนปลาย 71.8%) เมื่อเปรียบเทียบความรู้ในการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน พบว่า ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน(p>0.05)  ทัศนคติของการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินของวัยรุ่นทั้งสองกลุ่ม มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในด้านบวกเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเปรียบเทียบทัศนคติในการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินทั้งสองกลุ่ม พบว่า วัยรุ่นชายระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีทัศนคติที่ดีกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001 ทั้งสองกลุ่มมีความตระหนักหรือเห็นความสำคัญของการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน หากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน(ตอนต้น 76.5% ตอนปลาย 52.9%) เมื่อเปรียบเทียบความตระหนักในการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001 ลักษณะการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีความตั้งใจที่จะใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินระดับมากที่สุด(ตอนต้น 43.53% ตอนปลาย 56.47%) ทั้งสองกลุ่มได้รับความรู้เกี่ยวกับยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินจากเพื่อน (51.8%vs.47.1%) รองลงมาคือ อินเตอร์เนต (ตอนต้น 41.2% ตอนปลาย 44.7%)

ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่นชาย เช่น ครอบครัว โรงเรียน บุคลากรทางสุขภาพ ควรให้ความรู้ที่ถูกต้อง สร้างทัศนคติที่ดี และสร้างความตระหนัก  เพื่อให้วัยรุ่นชายที่มีบทบาทในการสนับสนุนแฟน หรือวัยรุ่นหญิงในการคุมกำเนิด ซึ่งจะทำให้สามารถลดอัตราการการตั้งครรภ์ ปัญหาด้านสุขภาพมารดาและทารก รวมทั้งปัญหาสังคมต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-29