รูปแบบพฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการ ของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ รูปแบบพฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการ ของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ Eating pattern and nutritional status among students and employees of Chaiyaphum Rajabhat University

ผู้แต่ง

  • ภัททิรา ก้านทอง
  • ชัยณรงค์ เลขราบ
  • ฐิมาพร วงศ์ศิริ
  • เพียงพักตร์ โมกภา
  • ทิพวารินทร์ พิมล

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ภาวะโภชนาการ นักศึกษาและบุคลากร

บทคัดย่อ

การศึกษาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 301 คนโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา 203 คนจาก 3,271 คน และบุคลากร 98 คนจาก 215 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามรูปแบบพฤติกรรมการบริโภคอาหารกับเกณฑ์ชี้วัดด้านภาวะโภชนาการ และแบบสัมภาษณ์การบริโภคอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมง

ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาและบุคลากรจำนวน รับประทานอาหารครบ 3 มื้อ ร้อยละ 89.7 ส่วนกลุ่มที่รับประทานอาหารไม่ครบ 3 มื้อ พบว่า งดรับประทานอาหารมื้อเช้า ร้อยละ 88.24 งดรับประทานอาหารมื้อกลางวัน ร้อยละ 2.94 และงดรับประทานอาหารมื้อเย็น ร้อยละ 8.82 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับประทานอาหารนอกบ้านมากกว่าปรุงอาหารรับประทานเอง คิดเป็นร้อยละ 93.69 และ 6.31 ตามลำดับ ระดับดัชนีมวลกายกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาอยู่ในระดับ ปกติ, เกินเกณฑ์, ผอม, และผอมมาก คิดเป็นร้อยละ 66.2, 16.2, 13.2, และ 4.4 ตามลำดับ ระดับดัชนีมวลกายกลุ่มตัวอย่างบุคลากรอยู่ในระดับ ปกติ, เกินเกณฑ์, ผอมมาก, และผอม คิดเป็นร้อยละ 81.5, 7.4, 7.4, และ 3.7 ตามลำดับ เปรียบเทียบดัชนีมวลกายเฉลี่ยระหว่างเพศชายและเพศหญิง พบว่า เพศชายมีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายเท่ากับ 21.62+1.69 กก./ม2 และเพศหญิงเท่ากับ 20.42+2.33 กก./ม2 โดยพบว่า เพศชายสูงกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) เมื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของพลังงานที่ได้รับทั้งหมดต่อวันในเพศชาย (1,213.97 กิโลแคลอรี/วัน) ไม่มีความแตกต่างกับเพศหญิงซึ่งได้รับพลังงาน 1,107.03 กิโลแคลอรีต่อวัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-29