ปัจจัยทำนายผลลัพธ์ของการถอดท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤต หอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสิงห์บุรี Factors Predicting Outcome of Extubation in Critically Ill Patients in Intensive Care Unit, Singburi Hospital

ผู้แต่ง

  • มานะ ปัจจะแก้ว
  • วารินทร์ บินโฮเซ็น
  • น้ำอ้อย ภักดีวงศ์

คำสำคัญ:

ปัจจัยทำนาย ผลลัพธ์การถอดท่อช่วยหายใจ ผู้ป่วยหายใจล้มเหลว

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ข้อมูลย้อนหลังในการศึกษาปัจจัยทำนายผลลัพธ์ของการถอดท่อช่วยหายใจ ในกลุ่มผู้ป่วยโรคทางอายุรกรรมที่มีภาวะการหายใจล้มเหลว คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางอายุรกรรมที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวที่ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลสิงห์บุรี ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2556 ถึงธันวาคม2559 จำนวน145 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลด้านการเจ็บป่วย 2)  แบบบันทึกปัจจัยทำนายผลลัพธ์ของการถอดท่อช่วยหายใจ ได้แก่ การทดสอบภาวะหลอดลมบวม และ แรงไอ และ 3) แบบบันทึกผลลัพธ์ของการถอดท่อช่วยหายใจ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่า CVI = 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย Chi-square และ Binary Logistic Regression

                     ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 74.48 ของกลุ่มตัวอย่างสามารถถอดท่อช่วยหายใจได้สำเร็จ ปัจจัยทำนายผลลัพธ์ของการถอดท่อช่วยหายใจได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ได้แก่ อายุ (b= 1.306)  ภาวะหลอดลมบวม (b= 1.601) และแรงไอ (b= 3.187) โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 32 (Cox and Snell R2=.32)  ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย การถอดท่อช่วยหายใจหลังการหย่าเครื่องช่วยหายใจบุคลากรทางสุขภาพควรต้องประเมินปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ การไม่มีภาวะหลอดลมบวม และไอได้แรงดี เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-29