ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันการใช้สารเสพติดในนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส Factors Influencing Drug Preventive Behaviors Among Students of Opportunity Expansion Schools

ผู้แต่ง

  • สรวิชญ์ เหล่าดรุณ
  • จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส
  • ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมป้องกันการใช้สารเสพติด นักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส

บทคัดย่อ

ยาเสพติดเป็นปัญหาระดับชาติและเป็นภัยคุกคามต่อคุณภาพชีวิตของเยาวชน ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งต่อผู้เสพ ครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ และประเทศชาติ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันการใช้สารเสพติดในนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 130 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลระหว่างเดือน มีนาคม ถึงเดือน เมษายน พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล เจตคติต่อการใช้สารเสพติด สัมพันธภาพในครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อน สัมพันธภาพกับครู การมองโลกในแง่ดี อัตมโนทัศน์ และพฤติกรรมป้องกันการใช้สารเสพติด มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค อยู่ระหว่าง .76 - .95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ                                                                                           

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนของพฤติกรรมป้องกันการใช้สารเสพติดเท่ากับ 3.77 (SD= .85) ซึ่งจัดอยู่ในระดับมาก ตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันการใช้สารเสพติด ได้แก่ สัมพันธภาพในครอบครัว อัตมโนทัศน์ สัมพันธภาพกับเพื่อน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (β= .249, .240, .196, .185, p< .01 ตามลำดับ) ตัวแปรทำนายทั้งสี่สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมป้องกันการใช้สารเสพติดได้ร้อยละ 40.9 (R2= .409, Adjust R2= .390, F= 4.942, p< .05)     ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สัมพันธภาพในครอบครัว อัตมโนทัศน์ สัมพันธภาพกับเพื่อน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันการใช้สารเสพติดในนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส พยาบาลโดยเฉพาะพยาบาลด้านสุขภาพจิตและจิตเวช ควรให้ความสำคัญในการส่งเสริม ปัจจัยดังกล่าว เพื่อป้องกันการใช้สารเสพติดในวัยรุ่นต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27