เปรียบเทียบการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพ ในแต่ละระดับความสามารถทางคลินิก ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ A comparison of Patient Safety Culture as Perceived by nurses at each competency Level at Srinagarind Hospital
คำสำคัญ:
การรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัย โรงพยาบาลศรีนครินทร์บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยและเปรียบเทียบการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพในแต่ละระดับความสามารถทางคลินิก กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน 447 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จากกลุ่มพยาบาลวิชาชีพในแต่ละระดับความสามารถทางคลินิก ได้แก่ กลุ่มอายุงาน 1-2 ปี 3-4 ปี 5-7 ปี 8-10 ปี และมากกว่า 10 ปี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประมาณค่าช่วงความเชื่อมั่นที่ระดับ 95% และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. การรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( xˉ = 78, S.D.=0.39, 95 % CI =3.75-3.82) และในแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก ทั้งวัฒนธรรมความปลอดภัยระดับหน่วยงาน ( xˉ = 3.89, S.D.= 0.43, 95 % CI =3.85-3.95) วัฒนธรรมความปลอดภัยระดับโรงพยาบาล (xˉ = 3.58, S.D.= 0.50, 95 % CI =3.53-3.62) และวัฒนธรรมความปลอดภัยด้านผลลัพธ์ ( xˉ = 3.89, S.D.= 0.43, 95 % CI =3.85-3.95) ( xˉ = 3.72, S.D.= 0.43, 95 % CI =3.66-3.79)
- เปรียบเทียบการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพในแต่ละระดับความสามารถทางคลินิก ในรายด้านและโดยรวม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value>0.05)
ข้อเสนอแนะ : ควรมีการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดความรู้และตระหนักเรื่องวัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างทั่วถึงในทุกระดับ โดยกำหนดแผนพัฒนาสมรรถนะหรือการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง ปรับอัตรากำลังให้เพียงพอและปรับเปลี่ยนชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสม