การวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารทางการพยาบาลของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ Succession Planning for Nursing Administration of Srinagarind Hospital

ผู้แต่ง

  • ชำนาญ เขื่อนแก้ว
  • จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร

คำสำคัญ:

การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง ผู้บริหารทางการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินท

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการรับรู้การวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารทางการพยาบาลของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ในพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการและพยาบาลวิชาชีพในระดับผู้บริหารทางการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการที่มีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จำนวน 428 คน และพยาบาลวิชาชีพในระดับผู้บริหารทางการพยาบาลจำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามการวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารทางการพยาบาลโรงพยาบาลศรีนครินทร์สำหรับพยาบาลระดับปฏิบัติการ และระดับผู้บริหารทางการพยาบาล ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของ   ครอนบาค แบบสอบถามสำหรับพยาบาลระดับปฏิบัติการมีค่าเท่ากับ 0.94 และ แบบสอบถามสำหรับพยาบาลระดับผู้บริหารทางการพยาบาลมีค่าเท่ากับ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบเปรียบเทียบที  Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้การวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารทางการพยาบาล ของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ โดยรวม การรับรู้อยู่ในระดับปานกลาง              (   = 3.36, SD = 0.63) การรับรู้การวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารทางการพยาบาล ของพยาบาลวิชาชีพระดับผู้บริหารทางการพยาบาล โดยรวม การรับรู้อยู่ในระดับมาก ( = 3.61 , SD = 0.63) 3. ความแตกต่างการรับรู้การวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารทางการพยาบาล ระหว่างพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ และพยาบาลวิชาชีพระดับผู้บริหารทางการพยาบาล โดยรวม การรับรู้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05    ( P = 0.001)    

ข้อเสนอแนะ: ผู้บริหารทางการพยาบาลควรส่งเสริมให้มีนโยบายการวางแผนสืบทอดตำแหน่งอย่างเป็นรูปธรรมและมีการดำเนินการที่ต่อเนื่อง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการในการกำหนดโปรแกรมการการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารทางการพยาบาลให้มีประประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-27