ประสิทธิภาพการเรียนรู้หัตถการการพยาบาลเบื้องต้นเรื่องการเช็ดตาของนักศึกษาพยาบาลผ่านการใช้โมบายแอปพลิเคชั่นแบบมีปฏิสัมพันธ์Effectiveness of interactive mobile application instruction on students’ knowledge on eye cleaning

ผู้แต่ง

  • องุ่น น้อยอุดม
  • เจริญชัย วงศ์วัฒน์กิจ

คำสำคัญ:

โมบายแอปพลิเคชั่น นักศึกษาพยาบาล การเช็ดตา

บทคัดย่อ

การวิจัยกึงทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้วิธีการเช็ดตาของนักศึกษาพยาบาลที่ใช้โมบายแอปพลิเคชั่นเรื่องการเช็ดตา และความพึงพอใจต่อการใช้โมบายแอปพลิเคชั่นเรื่องการเช็ดตาของนักศึกษาพยาบาล โดยมีรูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง  ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนักศึกษาพยาบาลที่ไม่เคยขึ้นฝึกปฏิบัติที่หอผู้ป่วยตามาก่อนจำนวน 55 คน หลังจากทำแบบทดสอบความรู้เรื่องการเช็ดตาก่อนเรียนจะถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มโดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มควบคุม 27 คน สอนโดยให้ดูวิดีโอตามปกติ กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มทดลอง 28 คน เรียนโดยใช้โมบายแอปพลิเคชั่นที่มีปฏิสัมพันธ์และมีแบบฝึกหัดที่เป็นเกม หลังการเรียน ทั้งสองกลุ่มทำแบบทดสอบความรู้เรื่องการเช็ดตาอีกครั้งหนึ่ง

                ผลการวิจัยพบว่าคะแนนความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง  (p=0.048, 0.001) ผู้ที่เรียนโดยโมบายแอปพลิเคชั่นมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการเช็ดตาสูงกว่ากลุ่มที่เรียนโดยการดูวิดีโออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.046)  แบบทดสอบความรู้ประกอบด้วย 3 หัวข้อ ได้แก่ วัตถุประสงค์ อุปกรณ์ และ วิธีการเช็ดตา  พบว่าในกลุ่มที่เรียนโดยใช้โมบายแอปพลิเคชั่นมีคะแนนในหัวข้อวิธีการเช็ดตาสูงกว่ากลุ่มที่เรียนโดยการดูวิดีโออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.038) ในขณะที่คะแนนในหัวข้อวัตถุประสงค์และอุปกรณ์ของทั้งสองกลุ่มมีคะแนนไม่แตกต่างกัน(p=0.597, 0.075) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อแอปพลิเคชั่น พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในช่วง 4.46-4.62  ในทุกหัวข้อ  การศึกษานี้ยืนยันว่าการใช้โมบายแอปพลิเคชั่นเสริมในการเรียนการสอนสามารถช่วยเพิ่มความรู้ให้กับนักศึกษาพยาบาลได้ดี โดยเฉพาะการสอนเกี่ยวกับหัตถการทางการพยาบาลที่ต้องมีวิธีการทำเป็นขั้นตอน นอกจากนี้นักศึกษายังมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ดังกล่าวอีกด้วย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-11