การเปรียบเทียบมาตรฐาน ISO/IEC 17043:2023 และ ISO/IEC 17043:2010 ข้อกำหนดสำหรับการทดสอบความชำนาญ

ผู้แต่ง

  • สุภาวัลย์ ปิยรัตนวรสกุล สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดนนทบุรี
  • สีตไพสิฐ เอกะจัมปกะ สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

ISO/IEC 17043, การทดสอบความชำนาญ, การเปรียบเทียบระหว่างห้องปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

การทดสอบความชำนาญหรือการประเมินความสามารถห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมการทดสอบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยการเปรียบเทียบระหว่างห้องปฏิบัติการเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบการประกันคุณภาพที่จะต้องดำเนินงานอย่างมีศักยภาพและสามารถประเมินผลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  จึงจำเป็นต้องดำเนินงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ISO/IEC 17043:2010  ซึ่งเป็นข้อกำหนดทั่วไปสำหรับการประเมินความสามารถของผู้จัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญที่องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานประกาศใช้ฉบับแรกในปีพุทธศักราช 2553  และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นฉบับล่าสุด  ISO/IEC 17043:2023 ในปีพุทธศักราช 2566 เพื่อให้สอดคล้องกับ ISO/CASCO standard เช่นเดียวกับระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 และ ISO 15189:2022 เป็นการอำนวยความสะดวกในการบูรณาการเข้ากับระบบการบริหารจัดการอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น รวมทั้งปรับคำนิยามศัพท์เฉพาะให้สอดคล้องกับ ISO 13528:2022 เพื่อความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้น   มาตรฐาน ISO/IEC 17043:2023 นี้มี 5 ข้อหลัก ได้แก่  (1) ข้อกำหนดทั่วไป  (2) โครงสร้าง  (3) ทรัพยากร (4) กระบวนการ และ (5) ระบบบริหารจัดการ  โดยปรับจากมาตรฐานฉบับแรกซึ่งมี 2 ข้อหลัก ได้แก่ ข้อกำหนดด้านวิชาการและด้านบริหารจัดการ เพิ่มการประเมินเพื่อให้แน่ใจว่าจะดำเนินการได้บรรลุวัตถุประสงค์  ใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากผู้เข้าร่วมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาวิเคราะห์เพื่อบริหารความเสี่ยงและโอกาส  รวมทั้งได้แก้ไขภาคผนวก A และ B  ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ตัดภาคผนวก C ออกมุ่งเน้นเฉพาะประเด็นสำคัญเท่านั้น  การเปรียบเทียบการปรับเปลี่ยนมาตรฐานนี้จะช่วยให้ผู้จัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญมีความเข้าใจรายละเอียดเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น สามารถประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพบริการเพื่อส่งมอบผลการทดสอบความชำนาญที่ถูกต้องแม่นยำ มีคุณค่าในการสะท้อนระบบคุณภาพ อันเป็นการส่งเสริมระบบการประกันคุณภาพทางห้องปฏิบัติการให้เกิดประโยชน์สูงสุด

References

ISO/IEC 17025:2017. General requirements for the competence of testing and calibration laboratories. Geneva : International Organization for Standardization; 2017.

ISO 15189:2022. Medical laboratories-requirements for quality and competence. Geneva : International Organization for Standardization; 2022.

ISO/IEC 17043:2010. Conformity assessment- general requirements for proficiency testing. Geneva : International Organization for Standardization; 2010.

ISO/IEC 17043:2023. Conformity assessment- general requirements for the competence of proficiency testing providers. Geneva : International Organization for Standardization; 2023.

ISO 13528:2022. Statistical methods for use in proficiency testing by interlaboratory comparison. Geneva : International Organization for Standardization; 2022.

กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. การให้การรับรองความสามารถผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17043:2023 [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 27 ธ.ค.2563]; [1หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://bla.dss.go.th/images/pdf/Transition_ISO_IEC_17043-2023_THAI-BLA-DSS.pdf.

ISO/IEC 17000:2004. Conformity assessment- Vocabulary and general principles. Geneva : International Organization for Standardization; 2004.

ISO/IEC Guide 99:2007. International vocabulary of metrology - Basic and general concepts and associated terms (VIM). Geneva : International Organization for Standardization; 2007.

ISO 17034:2016, General requirement for the competence of reference material producers. Geneva : International Organization for Standardization; 2016.

ISO 19011:2018. Guidelines for auditing management systems. Geneva : International Organization for Standardization; 2018.

ISO 9001:2015. Quality management systems – requirements. Geneva : International Organization for Standardization; 2015.

ISO 31000:2018. Risk management-Guidelines. Geneva : International Organization for Standardization; 2018.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

ฉบับ

บท

บทความปริทัศน์